การปรับปรุงคุณภาพไม้...คือ การลดความชื้นภายในไม้ หรือ ทำให้ไม้แห้ง โดยการใช้ความร้อนเพื่อไล่ความชื้นให้ออกจากเนื้อไม้ เช่น การอบ การนึ่ง การผึ่ง การตากแดด...( โรงงานผู้ผลิตโดยตรง ประตูไม้สักอบแห้ง )

การปรับปรุงคุณภาพไม้...แต่ก่อนมา ตลาดไม้เมืองไทยรู้จักไม้อยู่เพียงไม่กี่ชนิด ที่สำคัญก็มี ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้ตะเคียน ไม้เคี่ยม และไม้หลุมพอ ไม้เหล่านี้ส่วนใหญ่ง่ายต่อการเลื่อย ผ่า และไสกบตกแต่ง มีความแข็งแรงและทนทานตามธรรมชาติสูง หดตัวไม่มาก จึงไม่ค่อยแตกร้าว หรือบิดงอ เกิดความเสียหายในสิ่งปลูกสร้างหรือเครื่องใช้ไม้สอยโดยทั่วๆ ไป ดังนั้น ความจำเป็นในการปรับปรุงคุณภาพไม้ให้ดีขึ้น จึงไม่ค่อยมี หากมีผู้คิดริเริ่มดำเนินการขึ้นบ้างก็มักขาดการสนับสนุน เนื่องจาก คนไม่ไว้ใจในประสิทธิภาพ และไม่อยากเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม อันเนื่องมาจากการปรับปรุงนั้น แต่บัดนี้ ปริมาณไม้ที่ตลาดต้องการมีมากขึ้น ในขณะที่ไม้ดีมีค่าจากป่ามีน้อยลง จำเป็นต้องใช้ไม้ที่มีคุณสมบัติรองๆ ลงไป การปรับปรุงคุณภาพไม้จึงค่อยมีความสำคัญขึ้นมา...การปรับปรุงคุณภาพไม้นั้น เราอาจทำได้ทั้งในด้านสี ความแข็งแรง การหด การพองตัว รวมถึงความทนทาน

 

การย้อมสี...
     เป็นวิธีหนึ่ง ซึ่งทำไม้ที่มีสีจาง เช่น กระพี้ไม้ มีสีสวยงามขึ้นได้อย่างกว้างขวาง น้ำยาอาบไม้บางอย่าง ก็มีผลทำให้ไม้มีสีสวยงามขึ้นได้ไม่น้อย ปัญหานี้ได้มีการศึกษา และปฏิบัติกันบ้างแล้ว แต่ยังไม่แพร่หลาย

การอัดพลาสติก...
     เป็นวิธีที่ทำให้ความแข็งแรง และทนทานของไม้ดีขึ้นได้ วิธีการ คือ เราอัดสารที่เป็นพลาสติกเข้าไปในไม้ตั้งแต่เมื่อสารนั้นยังอยู่ในสภาพของของเหลว แล้วจึงทำให้มันรวมตัวจับกันเป็นเนื้อพลาสติก ซึ่งเป็นของแข็งในภายหลัง ทั้งนี้อาจทำได้ โดยอาศัยตัวเร่งทางเคมี หรือฉายรังสี ไม้ที่อัดพลาสติกแล้ว อาจไสกบตกแต่งได้อย่างไม้ธรรมดา

การอัดไม้ด้วยความร้อน...
     ทำให้ไม้มีปริมาตรเล็ก เข้าและคงรูปอยู่ได้ภายหลังการอัด วิธีนี้ทำให้เราสามารถปรับปรุงไม้ที่เบาๆ ให้เป็นไม้หนักขึ้นได้ ในเวลาเดียวกัน ก็ทำให้ไม้แข็งและทนทานขึ้นได้ ตามส่วน การอัดไม้ให้มีความถ่วงจำเพาะ ๑.๒-๑.๓ (เปรียบเทียบกับความถ่วงจำเพาะของไม้แท้ๆ ๑.๕๔) สามารถทำได้โดยง่าย

การอบหรือนึ่งไม้ที่อุณหภูมิสูงๆ...
     ทำให้สารประกอบทางเคมีบางประเภท ซึ่งดูดคายน้ำได้มากสลายตัว จึงมีผลทำให้การพอง และหดตัวของไม้ลดลงไปด้วย จัดได้ว่าเป็นวิธีปรับปรุงคุณภาพไม้วิธีหนึ่ง

การอบหรือผึ่ง...
     เป็นวิธีทำให้ไม้แห้ง ได้ความชื้นสมดุลกับความชื้นในอากาศเสียก่อน เพื่อป้องกันการหดตัวของไม้ในภายหลังได้เป็นอย่างดี ซึ่งทำได้ไม่ยาก และในปริมาณครั้งละมากๆ ในการอบ หรือผึ่งต้องกองไม้ให้โปร่ง ทำให้อากาศในกองไม้ถ่ายเทได้สะดวก การผึ่ง (ผึ่งในอากาศ) ปกติไม้แห้งช้า ต้องเสียเวลานาน เวลาใดอากาศแห้ง ไม้ก็แห้งเร็ว ถ้าอากาศชื้นดังเช่นในฤดูฝน ไม้ก็แห้งช้า เพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนี้ จึงได้มีการคิดเตาอบขึ้นใช้ ในเตาอบเราอาจบังคับควบคุมให้อากาศร้อนเย็น แห้ง หรือชื้นได้ ตามที่ต้องการ จึงสามารถทำให้ไม้แห้งได้เร็ว เท่าที่จะไม่ทำให้ไม้เสียหายจากการหดตัวไม่เท่ากันดังกล่าวมาแล้ว

การกองไม้...
     โดยกองให้กองไม้นั้นโปร่งไม่ชิดกัน นอกจากจะทำให้ไม้แห้งเร็วแล้ว ยังช่วยป้องกันการเกิดราที่ทำให้ไม้เสียสี และทำให้ไม้ผุได้เป็นอย่างดีด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนของไม้ที่เป็นกระพี้ หรือไม้ที่ไม่ทนทานโดยทั่วๆ ไป หากกองชิดกันในระยะที่แปรรูปออกมาสดๆ เพียงวันสองวัน จะเกิดราขึ้นเต็ม บางทีทำให้ไม้ติดกันเป็นตับ ถ้าไม่แยกผึ่งให้ทันท่วงที อาจเสียหายถึงกับใช้การไม่ได้ตลอดไป

การแช่น้ำ...
     ถ้าแช่น้ำเป็นระยะเวลานานๆ ทำให้สารจำพวกแป้งและน้ำตาลที่มีในไม้ สลายตัวไป ภายหลังเมื่อนำไม้ มาใช้งาน แม้จะมีส่วนที่เป็นกระพี้ติดอยู่ด้วย ก็จะไม่มีมอดเข้ารบกวน

การอาบน้ำยา...
     ทำให้ไม้มีประสิทธิภาพในด้านความทนทานสูงขึ้นได้อย่างกว้างขวาง สามารถทนทานต่อรา มอด ปลวก รวมทั้งเพรียงในทะเล ทั้งนี้เพราะน้ำยานั้น มีหลายประเภท ทั้งที่เป็นพวกน้ำมัน เช่น ครีโอโสต และพวกเกลือละลายน้ำ เช่น เกลือของ สารหนู ทองแดง ปริมาณที่อาบ อาจบังคับให้มากน้อยตามความจำเป็น และตามสภาพที่จะนำไปใช้งาน โดยวิธีทา วิธีอัดน้ำยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดนั้น เมื่อนำไม้เข้าท่อปิดฝาสนิทแล้ว ต้องดูดอากาศในไม้ และในท่อออกเสียก่อน ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วจึงปล่อยน้ำยาเข้าไป และเพิ่มความกดของอากาศในหม้อให้สูงขึ้น ถึงระดับที่ต้องการ รักษาความกดดัน ที่ระดับนั้นไว้ชั่วระยะหนึ่ง แล้วจึงลดความดัน และเปิดท่อนำไม้ออกมาได้...ไม้ที่อาบน้ำยาแล้วนี้ จะมีความทนทานสูงกว่าไม้ ธรรมชาติถึงเท่าตัวหรือหลายๆ เท่า เช่น ไม้ปออีเก้ง ที่กล่าวว่าทนทานไม่เกิน ๖ เดือนนั้น เมื่ออาบน้ำยาแล้ว ทนทานได้ถึง ๑๓ ปี

   

ไม้แปรรูป
     โดยทั่วๆ ไป หมายถึง เฉพาะไม้ที่แปรรูปจากไม้ซุงท่อน ด้วยการเลื่อยหรือถาก เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง ทำเครื่องเรือน หรือแปรรูปต่อไปเป็นอย่างอื่น สำหรับการแปรรูปไม้ซุงขนาดเล็ก เช่น ทำเป็นเสา หรือหมอนรองรางรถไฟ ยังนิยมใช้วิธีถากด้วยขวานกันอยู่ทั่วไป แต่ถ้าเป็นไม้ขนาดใหญ่ต้องการแบ่งไม้ออกเป็นสองส่วน หรือหลายๆ ส่วน ต้องใช้เลื่อย เลื่อยที่ใช้แรงคนมักเป็นเลื่อยแบบชัก หากเป็นโรงเลื่อยจักร อาจมีเลื่อยใช้ได้หลายแบบ คือ ทั้งเลื่อยชัก เลื่อยสายพาน และเลื่อยวงเดือน โรงเลื่อยจักรนั้น จัดเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับไม้มาก่อนอุตสาหกรรมประเภทอื่น

     ไม้แปรรูปที่ได้ สำหรับตลาดภายในประเทศ นิยมเรียกชื่อตามวัตถุประสงค์ที่จะนำไม้ไปใช้ เช่น เรียกว่า ไม้เสา คาน ตง คร่าว พื้น ฝาและระแนง ส่วนตลาดระหว่างประเทศ แบ่งเรียกตามขนาดไม้ ซึ่งโดยทั่วๆ ไปมีข้อกำหนดดังนี้ ถ้าเป็นไม้ที่มีความหนาต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของความกว้าง ที่กว้างต่ำกว่า ๑๕๐ มิลลิเมตร เรียกว่า ไม้หน้าแคบ ที่กว้างตั้งแต่ ๑๕๐ มิลลิเมตรขึ้นไป เรียกว่า ไม้หน้ากว้าง ไม้หน้ากว้างที่หนาไม่เกิน ๕๐ มิลลิเมตร เรียกว่า ไม้กระดาน ที่หนาเกิน ๕๐ มิลลิเมตร เรียกว่า กระดานหนา ไม้ที่หนาตั้งแต่ครึ่งหนึ่งของความกว้างขึ้นไป รวมทั้งไม้เหลี่ยม ถ้ามีขนาดกว้างหนาไม่เกิน ๒๒๕ x ๑๕๐ มิลลิเมตร หรือ ๒๕๐ x ๑๒๕ มิลลิเมตร เรียกว่า ไม้หน้าเล็ก ที่เกินขึ้นไป เรียกว่า ไม้หน้าใหญ่ สำหรับการซื้อขายไม้สักที่หนาตั้งแต่ ๑๒๕ มิลลิเมตรขึ้นไป กว้างตั้งแต่ ๑๗๕ มิลลิเมตรขึ้นไป เรียกว่า ไม้ตับ อันที่จริงไม้ตับนั้น หมายถึง ไม้ที่จะต้องนำไปแปรรูปต่อ เช่น ซอยเป็นกระดาน หรือผ่านเป็นไม้บาง ไม้เหลี่ยม หมายถึง ไม้ที่มีหน้าทั้งสี่เท่ากัน ไม้ซุงที่ถากหรือเลื่อย เพื่อให้ได้รูปหน้าตัดขวางเป็นสี่เหลี่ยม เรียกว่า ซุงเหลี่ยม

     การแปรรูปด้วยเลื่อยจักร ตามปกติจะให้ไม้แปรรูปประมาณร้อยละ ๔๐-๗๐ ของปริมาตรไม้ท่อน แล้วแต่ขนาดไม้ว่าเล็กโต และลักษณะไม้ว่าคดงอเป็นหลีบเป็นพู หรือว่าตรงเปลา (ไม่มีกิ่ง) ส่วนที่เสียไปจากส่วนนอกๆของท่อน เนื่องจากการทำให้ไม้กลม เป็นเหลี่ยม เรียกว่า ปีกไม้ ส่วนที่มีตำหนิ เช่น ตาหรือรอยแตกร้าว ต้องตัดทิ้งไปเป็นเศษ และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งได้แก่ ขี้เลื่อย ซึ่งได้จากการตัดหรือซอย ไม้ทั้งดีและเสียลงให้ได้ขนาดที่ต้องการ ที่แล้วมา ส่วนเสียของไม้เหล่านี้ นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงต้มน้ำ ทำไอขับเครื่องต้นกำเนิดกำลังเป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่เหลือก็ใช้เผาถ่าน หรือไม่ก็เผาทิ้งไป อย่างไรก็ตาม เป็นที่หวังว่า เมื่ออุตสาหกรรมด้านอื่นๆ เจริญขึ้น การใช้ของเสียจากโรงเลื่อย จะเป็นไปด้วยดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และแทนที่จะทำการเลื่อยไม้เพียงอย่างเดียว ต่อไปโรงเลื่อยอาจเป็นที่รวมของอุตสาหกรรมอย่างอื่น เช่น การอาบน้ำยาไม้ อบไม้ และการผลิตผลิตภัณฑ์จากไม้ประเภทอื่นๆ

                             

ไม้บาง ไม้อัด และไม้ประสาน...
     จากการที่ไม้ดีๆ ต้องสูญเสียไปกับคลองเลื่อย ในการแปรรูปไม้โดยวิธีเลื่อยตามธรรมดาจำนวนมาก จึงทำให้มีผู้คิดหาทางแก้ไข พบว่ามีวิธีหนึ่งที่ได้ผลดี คือ ปอก หรือฝานเป็นไม้บาง มีความหนาตั้งแต่ ๑-๔ มิลลิเมตร ไม้บางนี้ลำพังตัวของมันเองไม่มีคุณสมบัติในด้านความแข็งแรง อาจฉีก หรือหักให้แยกจากกันได้ง่าย ต้องนำไปทากาวแล้วอัดติดกันหลายๆ ชั้น หรือติดกับวัตถุอย่างอื่น จึงจะใช้งานได้ดี


ไม้บาง...
     ที่ได้จากการปอกเป็นแผ่นต่อเนื่อง เราอาจตัดให้มีแผ่นกว้างแคบเพียงใดได้ตามต้องการ ส่วนที่ได้จากการฝาน มีลักษณะเป็นชิ้นๆ มีความกว้างเท่ากับความกว้างของไม้ตับที่นำมาฝานนั้น ปกตินิยมว่า ไม้ฝานมีความสวยงามกว่าไม้ปอก เนื่องจากเมื่อนำไปใช้แล้ว มีส่วนคล้ายกระดาน และอาจจัดลวดลายไม้ให้สวยงามได้ตามความพอใจ ไม้ดีมีค่าจึงมักทำเป็นไม้บางด้วยวิธีฝาน และใช้เป็นหน้าไม้อัด ส่วนไม้เนื้ออ่อนที่ขาดความสวยงามมักปอกและใช้เป็นไส้ไม้อัด...ไม้เนื้ออ่อนส่วนใหญ่ เมื่อตัดลงใหม่ๆ สามารถนำเข้าปอกได้ทันที แต่สำหรับไม้เนื้อแข็ง หรือไม้ที่แห้งหมาดแล้ว จะปอกหรือฝานต้องต้มให้ไม้อ่อนตัวเสียก่อน 

                   

ไม้อัด...
     เป็นไม้ที่ได้จากการนำไม้บาง ๓ หรือ ๕ หรือ ๗ แผ่นมาทากาว แล้วอัดให้แผ่นที่อยู่ติดกันมีแนวเสี้ยนตั้งฉากกัน อาจผลิตให้มีความหนาบางแตกต่างกันได้หลายขนาด โดยเลือกใช้ไม้บางที่มีความหนาต่างๆ กัน หรือเพิ่มจำนวนชั้นไม้บางตามความเหมาะสม ไม้บางที่ผลิตออกสู่ตลาดถือตามขนาดมาตรฐาน คือ กว้าง ๔ ฟุต ยาว ๘ ฟุต แต่ในโอกาสต่อไปอาจต้องเปลี่ยนเป็น กว้าง ๑๒๐ เซนติเมตร ยาว ๒๔๐ เซนติเมตร ตามมาตรฐานของไทย ซึ่งมีการกำหนดให้ ๓๐ เซนติเมตร เป็นหน่วยมาตรฐาน
    ไม้อัดอาจแบ่งออกได้เป็น ไม้อัดภายใน และไม้อัดภายนอก ตามประเภทของกาวที่ใช้ กาวที่ใช้ในอุตสาหกรรมไม้อัดสำคัญของโลกปัจจุบัน ได้แก่ กาวยูเรียฟอร์มัลดีไฮด์ ทนน้ำได้ดีพอควร ใช้สำหรับทำไม้อัดภายใน กาวรีซอสซีนอล และฟีนอลฟอร์มัลดีไฮด์ สามารถทนน้ำและความร้อนได้ดี แม้แช่ในน้ำหรือต้ม ไม้อัดก็ไม่หลุดลอกออกจากกัน จึงใช้ทำไม้อัดภายนอก
     ไม้อัดที่ใช้กันอยู่ทั่วๆ ไปในเวลานี้ มักคำนึงถึงแต่ความสวยงามและความทนทานต่อการหลุดลอกเมื่อถูกความชื้นหรือน้ำ ในโอกาสต่อไปอาจจะต้องมีการพิจารณาในเรื่องความแข็งแรงด้วย เมื่อมีการนำไปใช้ประกอบโครงสร้างที่ต้องรับกำลังมากๆ เช่น ทำเป็น คาน ตง

ไม้ประสาน...
     ต่างกับไม้อัดตรงที่การเรียงไม้ ซึ่งต้องให้แนวเสี้ยนของไม้ทุกชั้นทอดไปตามแนวเดียวกัน และจะให้มีจำนวนชั้นเท่าไร ก็สามารถทำได้ จนกว่าจะได้ความหนาที่ต้องการ ไม้ประสาน นอกจากทำจากไม้บางสำหรับใช้เป็นเครื่องมือเล็กๆ น้อยๆ แล้ว ยังอาจทำจากไม้แปรรูปใช้ในงานก่อสร้างโดยทั่วๆ ไปได้ด้วย ความแข็งแรงของไม้ประสานจะมีเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับชนิดไม้ และชนิดกาวที่ใช้ สำหรับไม้ที่ใช้เป็นส่วนประกอบโครงสร้างที่ต้องรับแรงมากๆ ดังกล่าวแล้ว มักมีการจำกัดให้ใช้กาวภายนอก จากวิธีการทำไม้ประสาน ทำให้เราสามารถใช้ไม้ขนาดเล็ก หรือสั้นๆ ให้เป็นประโยชน์ในการก่อสร้างได้อย่างกว้างขวาง กล่าวคือ จะประกอบให้เป็นตัวไม้ขนาดใหญ่เท่าใดก็ได้ หรือจะอัดให้โค้ง หรือมีรูปเป็นอย่างอื่นก็ทำได้ เชื่อว่า อุตสาหกรรมไม้ประสานนี้ จะมีลู่ทางก้าวหน้าได้มากในอนาคต

ไม้ประกอบ...
     หมายถึง ผลิตภัณฑ์จากไม้ที่ย่อยเป็นชิ้น ไสเป็นฝอย หรือแยกเป็นเส้นใย แล้วนำมาอัดรวมกันเข้าเป็นชิ้น เป็นแผ่น ทั้งนี้ โดยจะมีวัตถุเชื่อมประสานด้วยหรือไม่ก็ได้ จัดเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้ไม้ขนาดเล็ก ตลอดจนเศษไม้ปลายไม้ให้เป็นประโยชน์อย่างสำคัญ ไม้ประกอบอาจแบ่งออกได้เป็น ๓ พวก คือ แผ่นชิ้นไม้อัด แผ่นใบไม้อัด และแผ่นฝอยไม้อัด

แผ่นชิ้นไม้อัด...
     ทำขึ้นโดยการสับ หรือไสไม้ให้เป็นชิ้นเล็กๆ คัดให้ได้ขนาดสม่ำเสมอเป็นพวกๆ ผสมกาวแล้วอัดเข้าเป็นแผ่น เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี อาจใช้ชิ้นไม้ที่มีขนาดต่างๆ โรยสลับกันเป็นชั้นๆ เฉพาะชั้นที่เป็นผิวหน้า ใช้ชิ้นไม้ขนาดเล็ก และผสมกาวให้มีปริมาณมากเป็นพิเศษ จะทำให้ได้แผ่นที่แข็งแรง และชิ้นไม้ไม่หลุดล่อนง่ายเมื่อนำไปใช้งาน แผ่นชิ้นไม้อัด อาจตัดแต่ง เซาะร่อง ขัดกระดาษทราย ทาสี ลงน้ำมัน หรือตกแต่งให้สวยงามโดยวิธีอื่นๆ ได้หลายวิธี หรือหากจะใช้ไม้บางปะหน้า ก็ทำให้ดูเป็นแผ่นกระดาน เหมาะสำหรับใช้เป็นฝาเพดาน เครื่องเรือน และของใช้โดยทั่วๆ ไป

              

แผ่นใยไม้อัด...
    มีกรรมวิธีพิสดารไปจากแผ่นชิ้น ไม้อัดตรงที่ เมื่อสับไม้เป็นชิ้นๆ แล้ว ต้องไปย่อยแยกให้เป็นเส้นใยเสียก่อน ในการประกอบแผ่น ถ้าเป็นเส้นใยแห้งต้องมีกาวเป็นส่วนผสม หากเป็นเส้นใยเปียกก็ไม่จำเป็นต้องใช้กาว จากนั้นก็อัดร้อนจนได้แผ่นสำเร็จ รูปออกมาในทำนองเดียวกัน 

   แผ่นใยไม้อัด แตกต่างจากแผ่นชิ้นไม้อัดตรงที่มีเนื้อละเอียดกว่า จะอัดผิวให้เรียบหรือมีลวดลายอย่างไร  อาจทำได้แนบเนียน และกว้างขวาง นอกจากนั้นจะอัดให้มีความแน่นมากน้อยเพียงไร ก็สามารถทำได้ แผ่นใยไม้อัดที่มีความแน่นน้อย มีคุณสมบัติช่วยเป็นฉนวนความร้อ นและเก็บเสียง


แผ่นฝอยไม้อัด...

     หมายถึง เฉพาะแผ่นที่ใช้ซีเมนต์เป็นวัตถุเชื่อมประสาน ตามปกติผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ ต้องไสไม้ให้เป็นฝอยยาวๆ เพื่อแผ่นที่ได้จะได้มีความแข็งแรง แต่สำหรับการอัดให้เป็นแท่ง หรือรูปอื่น ชิ้นไม้ที่มีรูปร่างเป็นอย่างอื่นก็ใช้ได  ชนิดไม้ก็มีความสำคัญในการทำผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ กล่าวคือ ไม้ชนิดที่มีแป้ง และน้ำตาลมาก ทำให้ปูนไม่แข็งตัว ไม่ สามารถทำให้เป็นแผ่นได้ วิธีทำ คือ เมื่อนำฝอยไม้ที่แช่น้ำไว้ก่อนคลุกปูนผสมน้ำเข้ากันดีแล้ว ก็นำเข้าอัดในแบบ ปล่อยทิ้งไว้จนปูนแข็งตัว ก็ถอดแบบออกใช้งานได้ เช่นเดียวกับงานปูนอื่นๆ  แผ่นฝอยไม้อัด สามารถตัดได้ดีด้วยเลื่อย ทาสี หรือฉาบปูนภายนอกได้แผ่นที่ไม่ฉาบปูนหรือตกแต่ง จนผิวเรียบเป็นอย่างอื่น มีคุณสมบัติในการเก็บเสียง และเป็นสื่อความร้อนได้อย่างดี  

(ที่มา : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน)

 

การผึ่งและการอบไม้

การผึ่งและอบไม้ หมายถึง ขบวนการหรือกรรมวิธีในการทำให้ความชื้นหรือน้ำระเหยออกจากเนื้อไม้ที่สดหรือมีความชื้นมากเกินพอ โดยเหลือปริมาณความชื้นอยู่ในเนื้อไม้ได้ส่วนสมดุลกับบรรยากาศที่อยู่โดยรอบไม้ที่จะนำไปใช้ประโยชน์นั้น คือให้เหลือความชื้นอยู่ในไม้ประมาณ 1 ใน 10ของความชื่นสดหรือประมาณ 8 – 16 % ( 12% โดยเฉลี่ย) สำหรับสภาวะอากาศของประเทศไทย วัตถุประสงค์ของการผึ่งและอบไม้ เพื่อให้เสียเวลาน้อยที่สุดและต้องไม่ทำให้ไม้เมื่อผึ่งและอบแล้วมีตำหนิน้อยที่สุด

ความจำเป็นที่ต้องการผึ่งและอบไม้

การผึ่งและอบไม้เป็นกรรมวิธีขั้นแรกของการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่มีดินฟ้าอากาศแบบโซนร้อน มีสภาพดินฟ้าอากาศในแต่ละท้องถิ่นจังหวัดและในแต่ละภาคแตกค่างกันออกไป จึงเกิดปัญหาในด้านการใช้ประโยชน์อย่างมาก แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ไม้เนื้อแข็งจะมีลักษณะโครงสร้างหรือกายวิภาคทางเนื้อไม้สลับซับซ้อนจึงมักจะเกิดตำหนิได้ง่าย

การผึ่งและอบไม้สามารถขจัดการสูญเสียไม้อันเกิดจากตำหนิต่าง ๆ เช่น การแตกที่ผิวและภายในเนื้อไม้ ( Cracking ) การแตกต่างตามหัวไม้ ( Splitting ) การบิดงอ ( Warping ) เหล่านี้ เป็นต้น ในขณะอบไม้ที่มีความชื้นสูงหรือไม้สด ถ้าไม่ควบคุมการระเหยของน้ำจากเนื้อไม้มักจะประสบปัญหาดังกล่าว อันเนื่องมาจากการยืดและหดตัวของไม้ สำหรับสภาพดินฟ้าอากาศของประเทศไทยที่มีปริมาณความชื้นสมดุลของอากาศ 8-16% เช่นนี้จึงต้องมีความจำเป็นในการผึ่งและอบไม้ให้ได้ความชื้นสมดุลกับอากาศของแต่ละท้องถิ่น เพื่อให้ไม้มีการคงรูปแน่นอนเมื่อนำไม้ไปใช้จะไม่มีการยืดหรือหดตัว ซึ่งอาจทำความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้างได้ เช่น การเข้ารางลิ้น ข้อต่อ การบิดงอไปจากแนวระดับ และการแตกเสียหายของไม้

ประโยชน์ของการผึ่งและอบไม้

1. ทำให้ไม้มีน้ำหนักเบาเป็นผลดีต่อการขนส่งไม้จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งต้นทุนในการขนส่งได้มาก
2. ทำให้ไม้หดตัวเสียก่อน ก่อนที่จะนำไปใช้ประโยชน์
3. ทำให้ไม้อยู่ตัวหรือคงรูป มีการยืดหรือหดตัวน้อย ไม่เป็นอุปสรรคต่อการก่อสร้างต่าง ๆ
4. ไม้เมื่อแห้งดีแล้วจะมีคุณสมบัติด้านความแข็งแรง ( Strenght ) ดีกว่าเดิม
5. ความแข็งแรงของรอยต่อที่ต่อด้วยตะปูหรือตะปูควงจะดีขึ้น
6. ทำให้ไม้เป็นฉนวนความร้อนและฉนวนไฟฟ้าได้ดี
7. ทำให้ทาสีหรือทาน้ำมันชักเงาได้ดีขึ้น
8. ทำให้ไม้พ้นจากาการทำลายของแมลงและเห็ดราต่างๆ
9. ไม้ที่อบหรือผึ่งอย่างดีแล้วจะติดกาว อาบน้ำยารักษาเนื้อไม้หรืออาบน้ำยาทนไฟได้ดีขึ้น
10. ทำให้ใช้เก็บเสียงได้ดีขึ้น ( Sound absorption )

กรรมวิธีการผึ่งและอบไม้ ( Methods Used to Dry Lumber )
กรรมวิธีการผึ่งและอบไม้ที่ใช้กันทั่วๆไป มีอยู่ด้วยกันหลายวิธีขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งานตลอดจนคุณภาพของไม้ที่อบแห้งให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจการลงทุนในปัจจุบัน ที่สำคัญที่นิยมใช้กันเสมอมีด้วยกัน 2 วิธี คือ

1. การผึ่งด้วยกระแสอากาศ ( Air drying or Seasoning )

เป็นการทำให้ไม้แห้งโดยวิธีธรรมชาติ ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพันธ์ในอากาศได้ ดังนั้นการแห้งของเนื้อไม้จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศและสภาพภูมิประเทศในบริเวณกองไม้ที่ทำการผึ่ง ดังนั้นปริมาณความชื้นในไม้จึงไม่แน่นอน การทำให้ความชื้นในไม้ต่ำกว่า 25% จึงจำเป็นต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน การผึ่งแห้งโดยกระแสอากาศนี้มีการปฏิบัติมากในหลายพื้นที่ ซึ่งสามารถทำการกองไม้ในที่โล่งแจ้ง หรือกองไม้โดยมีหลังคาคลุม (พบว่าในการอบแห้งด้วยเตาอบ จำเป็นต้องผึ่งกองไม้ในกระแสอากาศก่อนนำเข้าเตาอบเพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนและเวลาในการอบ)

การผึ่งแห้งโดยกระแสอากาศนี้สามารถทำได้ทั้งไม้แปรรูปหรือไม้ท่อนขนาดเล็กที่ใช้ในงานก่อสร้าง เช่น เสา หรือไม้ค้ำยัน หรือกองไม้ไว้เพื่อรอนำไปทำชิ้นไม้สับ ไม้ที่จะนำมากองผึ่งในกระแสอากาศควรจะทำการปอกเปลือกออกให้หมดเป็นดารป้องกันการเกิดเชื้อราหรือแมลงทำลายเนื้อไม้ บริเวณที่กองไม้ควรสะอาดปราศจากวัชพืชหรือเป็นแอ่งน้ำทั้งนี้พื้นดินที่กองไม้ควรมีความลาดเอียงเล็กน้อยเพื่อให้น้ำได้ไหลผ่านสะดวกไม่ขังนอง พื้นดินควรมีการอัดแน่นสามารถรับน้ำหนักกองไม้ได้และไม่ควรมีเศษกรวด หิน หรือทรายบนพื้นเพราะจะติดไปกับเนื้อไม้ทำให้เป็นอันตรายต่อเครื่องมือแปรรูปต่างๆ วัชพืชในบริเวณใกล้เคียงควรกำจัดออกให้หมดเพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัยไม้เนื้ออ่อนท่อนเล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 6 นิ้ว กองผึ่งในกระแสอากาศช่วงฤดูแล้งต้องใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน เพื่อทำให้ความชื้นในไม้ลดลงเหลือประมาณ25-30% สำหรับไม้ท่อนต่างๆ ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 30 ซม. ขึ้นไปไม่ควรกองผึ่งไว้นานเกินไป ควรทำการแปรรูปไปใช้ประโยชน์โดยเร็ว เมื่อทำการแปรรูปแล้วจึงนำมากองไว้นานเกินไป ควรทำการแปรรูปไปใช้ประโยชน์โดยเร็ว เมื่อทำการแปรรูปแล้วจึงนำมากองไว้โดยบริเวณดังกล่าวควรมีการถ่ายเทของอากาศผ่านกองไม้แปรรูปได้สะดวก

ขนาดของกองไม้โดยมากไม่ควรให้กว้างเกนกว่า 2 ม. เพราะไม้ที่กองอยู่บริเวณกึ่งกลางของกองไม้จะแห้งค่อนข้างช้ากว่าไม้ส่วนอื่นๆ อาจทำให้เกิดเชื้อราหรือถูกทำลายจากแมลงส่วนความสูงของกองไม้ไม่มีข้อจำกัด ขึ้นอยู่กับความสะดวกและความมั่นคงของกองไม้ไม่ล้มลงมาได้ง่าย ระยะห่างของแต่ละกองควรห่างกันพอประมาณเพื่อให้กระแสอากาศไหลผ่านได้ดีและสะดวกต่อการขนย้ายหรือรวมกอง ทั่งนี้ระยะห่างของกองไม้ไม่น้อยกว่า 30 ซม. กองไม้แต่ละกองควรสูงกว่าพื้นดินไม่น้อยกว่า 30 ซม. สำหรับไม้คั่น ที่นิยมใช้กับไม้แปรรูปมีอยู่ 2 ขนาด คือ ขนาด 1 x 1 นิ้ว และ 1 x ? นิ้ว ขนาดของไม้คั่นมีผลต่อการแห้งของแผ่นไม้ว่าเร็วหรือช้าไม้บางชนิดที่แห้งง่ายและเกิดตำหนิน้อย เราสามารถใช้ไม้คั่นได้หนาถึง1 ? นิ้ว เช่น ไม้สัก ไม้สะเดาเทียมการกองไม้มีความสำคัญอันดับแรกในการทำให้ไม้แห้ง ไม่ว่าจะผึ่งแห้งด้วยเตาอบไม้ ดังนั้นระยะของไม้คั่นต่อความหนาของไม้แปรรูปต้องสัมพันธ์กัน และแนวของไม้คั่นต้องเป็นเส้นตรงในแนวดิ่งเดียวกัน

ข้อแนะนำเกี่ยวกับความหนาและกว้างของไม้คั่น ( sticker ) กับระยะห่างของไม้คั่นกับความหนาของไม้แปรรูปที่จะกองมีทั้งนี้ระยะห่างและความหนาของไม้คั่นอาจเปลี่ยนแปลงไปจากตารางข้างต้นนี้ได้ขึ้นอยู่กับการสังเกตุของผู้ปฏิบัติงานสามารถดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งให้เหมาะสมกับสภาพและสถานที่เป็นจริง ขณะทำการกองไม้ได้โดยไม่มีข้อจำกัดแต่อย่างใด อนึ่งก่อนทำการกองไม้จำเป็นต้องมีการคัดแยกขนาด โต ยาว หรือขนาดของไม้ที่จะกองให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน จากนั้นจึงทำการกองไม้ในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในไม้แปรรูป การกองไม้ที่มีขนาดความหนาต่างกัน ไม่ควรต่างกันเกินกว่า 1 นิ้ว เพราะทำให้การแห้งของไม้แตกต่างกันควบคุมความชื้นในไม้เป็นไปด้วยความลำบากและอาจเกิดตำหนิได้สำหรับบางโอกาศที่ไม่สามารถคัดแยกได้ทันกองไม้หนึ่ง ๆ ควรให้ความยาวของกองไม้เท่ากันหรือหัวท้ายกองไม้ไม่มีไม้ขนาดความยาวต่างๆกันยื่นออกไปจากกอง กองไม้ที่หัวท้ายสม่ำเสมอกระแสอากาศสามารถหมุนเวียนผ่านกองไม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้การแห้งของไม้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ บางฤดู เช่น ฤดูฝนการกองไม้ควรกองใต้โรงเรือนหรือมีหลังคาคลุมกองไม้ เพื่อป้องกันน้ำและความชื้นของอากาศ เข้าไปในกองไม้มากเกินควร นอกจากจะทำให้ไม้แห้งช้าแล้วอาจเป็นสาเหตุ ทำให้ไม้แห้งช้าแล้อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดชื้อราบนเนื้อไม้ได้ เช่นไม้ยางพารา ไม้สน เป็นต้น

2.การอบแห้งด้วยเตาอบ ( kin drying )

การทำทำให้ไม้แห้งโดยวิธีนี้ เราสามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพันธ์ได้ตามต้องการ และสามารถทำให้การแห้งของไม้เป็นไปอย่างต่อเนื่องช้าหรือเร็วได้ ไม้ที่ผ่านการอบแล้วจะมีปริมาณความชื้นตามความต้องการตรงกับประโยชน์ที่จะนำไม้นั้นๆ ไปใช้งาน การอบแห้งที่ดีต้องใช้เวลาน้อยสุดเพื่ออบให้มีความชื้นตามต้องการและปราศจากตำหนิต่างๆ ที่จะเกิดในไม้ดังนั้นการอบแห้งด้วยเตาอบ ( kiln drying ) ใช้เงินทุนสูงกว่าการผึ่งแห้งโดยกระแสอากาศแต่ระยะเวลาที่ใช้อบแห้งเพียง1/10 ถึง 1/30 เท่าของเวลาที่ใช้ผึ่งแห้งโดยกระแสอากาศ

ปัจจุบันมีการพัฒนาโดยผสมผสานระหว่างการผึ่งแห้งด้วยกระแสอากาศและอบแห้งด้วยเตาอบ ทำให้ไม้ที่จะนำเข้าเตาอบมีความชื้นต่ำลงและความแตกต่างของความชื้นน้อยโดยชั้นแรกกองไม้ผึ่งไว้ในกระแสอากาศให้ความชื้นของไม้โดยเฉลี่ยประมาณหรือต่ำกว่า 30% กองไม้นี้ต้องกองอยู่ในโรงเรือนที่มีฝา 3 ด้าน ฝาด้านข้างกองไม้หนึ่งด้านติดพัดลม เพื่อให้การหมุนเวียนของอากาศรอบกองไม้ดีและเร็วขึ้นเป็นการเร่งให้การระเหยของน้ำในไม้มากขึ้น การกองไม้ควรให้ปริมาณมากเพียงพอต่อการเข้าอบไม้ในแต่ละครั้งของแต่ละเตา ผลดีของการเตรียมไม้ไว้รอเข้าเตาอบ โดยเวลาในการทำการผึ่งไม้นี้ ( Predrying ) นานพอๆ กับเวลาใช้ไม้ด้วยเตาอบในแต่ละครั้ง เมื่อไม้ในเตาอบแห้งได้ตามความชื้นที่ต้องการแล้ว เราสามารถนำไม้ที่ผึ่งโดยกระแสอากาศเข้าเตาอบต่อไป จากที่ได้มีการทดลองในหลายประเทศปรากฏว่าถ้านำไม้ที่สดอยู่แล้วมาทำการอบด้วยเตาอบโดยมิได้ผึ่งกระแสอากาศให้ไม้หมาดลง เวลาที่ใช้ในการอบแห้งด้วยเตาอบพบว่าต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 4 ถึง 5 อาทิตย์ ไม้จึงจะแห้ง ข้อพึงระวังในการนำไม้เข้าเตาอบควรคำนึง คือ

1. ชนิด และขนาดของไม้ ควรเป็นชนิด และขนาดเดียวกัน

2. กรณีที่จำเป็นต้องคละขนาด ไม่ควรให้ขนาดความหนาต่างกันเกิน 1 นิ้ว

3. ไม้ที่มีความชื้นมากสุด ( กรณีที่กองผึ่งไม้ในกระแสอากาศก่อนเข้าเตาอบไม้ที่อยู่กลางกองจะเป็นไม้ที่มีความชื้นสูงสุด กรณีคละความหนาไม้ที่มีความชื้นสูง กรณีคละความหนาไม้ที่มีความหนาสูงสุดจะมีความชื้นมาก ) ต้องนำมาเป็นไม้ตัวอย่างหาความชื้นขณะทำการอบไม้

4. กรณีคละชนิดไม้เข้าเตาอบ ไม้ที่มีคุณสมบัติในการอบแห้งยาก ต้องใช้ตารางอบไม้สำหรับการอบไม้ชนิดนั้นเป็นหลักในการอบ

ดังนั้น ในการทำให้ไม้แห้งไม่ว่าจะโดยวิธีผึ่งกระแสอากาศหรืออบไม้ด้วยเตาอบต้องควบคุมไม่ให้ผิวหน้าไม้แห้งเร็วเกินไป เช่น การผึ่งกระแสอากาศจำเป็นต้องมีโรงเรือนคลุมหรือวัสดุคลุมกองไม้เพื่อป้องกันการเสียน้ำมากและเณ็วเกินไป ส่วนการอบไม้ด้วยเตาอบต้องควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพันธ์ให้เหมาะสม เพราะถ้าผิวหน้าไม้ภายนอกแห้งเร็วเกินไปขณะเดียวกันภายในเนื้อไม้ยังมีความชื้นสูงอยู่ พบว่าถ้าความชื้นของเนื้อไม้ด้านนอกแตกต่างกับความชื้นในไม้เกิน 5% จะเกิดแรงเค้นในเนื้อไม้เป็นสาเหตุของการตำหนิต่างๆ ได้ เช่น โค้ง อาการแข็งนอก ( Case hardening ) แตกแบบรังผึ้ง ( honeycombing ) ในเนื้อไม้ได้ ทั้งนี้ตำหนิต่างๆ อาจเกิดจากคุณสมบัติเฉพาะตามธรรมชาติของเนื้อไม้ เช่น ลักษณะเสี้ยนไม้ อายุของไม้ที่นำมาใช้งานพบว่าไม้โตเร็ว เช่น ไม้ยูคาลิปตัส ไม้สะเดาเทียม การเจริญเติบโตที่รวดเร็วของไม้ทำให้เกิดแรงเค้นขึ้นในเนื้อไม้ โดยไม้ที่มีอายุน้อยแรงเค้นจากากรเจริญเติบโต ( growth stress ) ค่อนข้างรุนแรงทำให้เกิดอาการแตกที่ปลายไม้ได้ง่าย ดังนั้น ในการอบแห้งจำเป็นต้องทาสีที่หัว-ท้ายของไม้ เพื่อลดการคายความชื้นในไม้เร็วเกินไป ขณะเดียวกันปลายไม้ทั่งสองด้านต้องใช้ไม้คั่ววางทั้งสองด้านให้พอดีกับหัวและปลายไม้และบนสุดของกองไม้ ควรวางน้ำหนักกดทับกองไม้ด้วย เนื่องจากไม้โตเร็วเมื่อศูนย์เสียความชื้นในไม้ แรงเค้นจากการเจริญเติบโตจะโดนปล่อยออกมาด้วย อาจทำให้ไม้เกิดตำหนิ โก่ง หรือโค่งได้ เพื่อป้องกันและลดอาการดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเอาน้ำหนักทับกองไม้ไว้ขณะทำการอบแห้งหรือผึ่งในกระแสอากาศ ดังนั้นรูปแบบในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับไม้โตเร็วจำเป็นต้องสังเกตุอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับไม้ จากที่กล่าวมาข้างต้นมิได้เป็นข้อปฏิบัติตายตัวจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติต้องบันทึกจดไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการอบหรือการผึ่งแห้ง

ดังนั้น การอบไม้ที่เกิดตำหนิได้ง่าย การใช้ตารางอบต้องระมัดระวังเป็นพิเศษอุณหภูมิไม่ควรสูงมาก ความชื้นสัมพันธ์ภายในตาช่วงแรกของการอบแห้งควรสูงกว่าปกติ ขณะเดียวกันการหมุนเวียนของกระแสลมในเตาอบต้องมีเพียงพอ เราจำเป็นต้องรู้ว่ากระแสลมภายในเตามีความเร็วเท่าใด เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนความชื้นสัมพัทธ์ให้เหมาะสมถูกต้อง

ปริมาณความชื้นในไม้ที่ใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ ของประเทศไทยที่กำหนดโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม มีดังนี้คือ

1. ไม้แปรรูปอบ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

ประเภทที่ 1 ไส้ประตูไม้แผ่นเรียบ ความชื้นอยู่ระหว่าง 8-12%

ประเภทที่ 2 ไม้พื้นและไม้ภายในอื่นๆ ความชื้นอยู่ระหว่าง 12-16%

ประเภทที่ 3 ไม้ทำลังใส่ของ ความชื้นไม่เกิน 20%

  • ชิ้นไม้ปูพื้นปาร์เกไม้สัก ปริมาณความชื้นอยู่ระหว่าง 12-16 %
  • ชิ้นไม้ปูพื้นปาร์เกไม้กระยาเลย ปริมาณความชื้นอยู่ระหว่าง 12-16 %
 
 


หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ นักวิชาการป่าไม้ สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้.

ข้อมูลจาก : การใช้ประโยชน์ไม้ขั้นพื้นฐาน. สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้. 2547.
เรียบเรียง : บางรักษ์ เชษฐสิงห์ นักวิชาการป่าไม้ 5
จัดพิมพ์ : สุชาดา สุทธิศรีศิลป์ นักศึกษาฝึกงาน

 

การแก้ปัญหาประตูไม้บวม

               ไม้ที่ผ่านการอบมาอย่างดีจะมีอัตราการบวม หรือ โก่ง ค่อนข้างน้อย แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป หากประตูไม้โดนน้ำบ่อยๆ หรือต้องเจอกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ก็อาจเกิดปัญหานี้ได้ ดังนั้น จึงต้องมีการดูแลรักษาเพิ่มเติม แม้ประตูไม้จะอยู่ในที่ร่มก็ตาม

               *หากประตูบวมไม่มาก ให้ใช้กระดาษทรายหรือผ้าทรายเบอร์หยาบๆ มาขัดบริเวณที่บวม จะช่วยให้เอาเนื้อไม้ของประตูออกได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้น

               *หากประตูบวมและขยายตัวจนไม่สามารถเปิด-ปิดได้ ให้แก้ด้วยการไสเนื้อไม้บางส่วนออก โดยเริ่มจากการใช้ดินสอทำเครื่องหมายบนขอบบานประตูโดยเทียบกับวงกบไว้ก่อนว่าต้องไสออกเท่าไหร่ จากนั้นก็ถอดบานพับออกโดยคลายตะปูเกลียวเฉพาะด้านที่ยึดตัวบานประตูไว้ เมื่อถอดประตูออกมาแล้วให้ถอดกลอนประตูด้านที่ต้องไสไม้ออก เพื่อให้สามารถวางบานประตูบนพื้นหรือบนโต๊ะได้ จากนั้นจึงยึดบานประตูให้แน่นกับแม่แรงอัดไม้ แล้วจึงไสบานประตูด้านที่ต้องการปรับแต่งตามต้องการด้วยเครื่องเจียรลูกหมู ระวังอย่าไสออกเยอะเกินไป เพราะเมื่อประตูหดตัวจะทำให้เกิดช่องห่างมากเกินไป เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ประกอบตัวบานเข้าที่เดิม จากนั้นใช้ไขควงขันตะปูเกลียวยึดบานตัวบนสุดไล่ลงมา เป็นอันเสร็จเรียบร้อยครับ...

               ***สาเหตุการบวม ยืด หด ของประตูไม้ คือการที่ประตูโดนแดดโดนฝนบ่อย สามารถป้องกันแสงแดดได้โดยการใช้น้ำมันหรือสีย้อมไม้ ทาทับลงไป โดยสีจะซึมเข้าสู่เนื้อด้านในและไม่ทำลายลวดลายไม้ตามธรรมชาติ ทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้แสงแดดทำลายจนเนื้อไม้เสียหายและช่วยป้องกันการแตกร้าวของไม้ได้อีกด้วย

 

 

การแก้ปัญหาบานประตูตก

 ***ปัญหาบานประตูตกนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งมีวิธีกากรแก้ไขที่แตกต่างกันไปดังนี้ครับ

1.ข้อสันนิษฐานเลยคืออยากให้ตรวจสอบที่บานพับก่อนครับ หากพบว่าเป็นเพราะบานพับเกิดการเสื่อมสภาพ ขึ้นสนิม โยกคลอน ก็ต้องแก้ไขด้วยการเปลี่ยนบานพับโดยเลือกใช้สินค้าที่มีคุณภาพ ไม่เป็นสนิมง่ายป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำอีกครับ

                                       

2.ตะปูเกลียวหลวม (ตะปูที่ใช้ยึดบานพับกับประตูและวงกบ) มีสาเหตุอันเนื่องมาจากการติดตั้งบานพับผิดวิธี โดยการตอกตะปูเกลียวแทนการไข เมื่อใช้งานไปไม่นานก็จะทำให้บานตก เปิด-ปิดประตูลำบาก วิธีแก้คือย้ายตำแหน่งบานพับแล้วไขตะปูยึดใหม่ให้ถูกต้อง โดยไม่ห่างจากจุดเดิมมากนักเพื่อการรับน้ำหนักที่เหมาะสม และอย่าลืมซ่อมรูและโป๊วสีรอยเดิมด้วยนะครับ

                                    

3.โครงสร้างของบานประตูไม้ไม่แข็งแรง ปกติแล้ววิธีการทำบานประตูจะเหมือนกันกับวิธีทำกรอบรูป คือนำไม้ 4 ท่อนมาเชื่อมต่อกันเป็นกรอบสี่เหลี่ยม โดยมีลูกฟักไม้หรือกระจกตรงกลาง ความแข็งแรงของบานจึงขึ้นอยู่กับการเข้าไม้บริเวณมุมกรอบทั้ง 4 ด้าน หากมุมของกรอบประตูหลวมจะทำให้ประตูไม้บิดเบี้ยวไม่คงรูปเป็นสี่เหลี่ยมมุมฉาก กลายเป็นสี่เหลี่ยมเบี้ยวจึงทำให้บานประตูตก วิธีแก้คือถอดประตูออกมาแล้วทำการวัดฉากใหม่ ปรับองศาให้ได้ฉาก จากนั้นจึงยึดมุมให้แน่นด้วยตะปูเกลียวแล้วจึงติดกลับไปใหม่

4.ผนังเกิดการแตกร้าวเนื่องจากฐานรากที่ทรุดตัว ทำให้กรอบวงกบมีลักษณะบิดเบี้ยว บานประตูจึงปิดไม่สนิท ก็ต้องแก้ไขที่ระบบฐานรากซึ่งเป็นต้นเหตุหลักครับ

 

การแก้ปัญหาประตูเสียงดัง  ***ประตูเสียงดังเกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งจากบานประตูเอง บานพับ หรือแม้แต่ลูกบิด ซึ่งมีวิธีแก้ไขดังนี้ครับ

1.      เสียงดังที่เกิดจากประตูกระแทกกับวงกบ...ประตูของบ้านบางหลังอาจมีอาการไหลปิดเอง ซึ่งอาจจะเป็นเพราะระดับพื้นที่เอียง หรือเพราะแรงลม ทำให้เกิดเสียงดังโดยไม่ตั้งใจบ่อย สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้ยางกันกระแทกติดที่บริเวณวงกบ ซึ่งยางกันกระแทกนี้มีความหนาให้เลือกหลายขนาด

                                                  

2.      เสียงดังที่เกิดจากบานพับ...ให้ใช้สเปรย์อเนกประสงค์ฉีดพ่นหรือใช้น้ำมันหล่อลื่นหยอด ซึ่งจะช่วยขจัดคราบสกปรกและช่วยหล่อลื่นไปในตัว โดยหยอดตามบานพักเพื่อช่วยลดการเสียดสีของโลหะที่มาของเสียงได้ หากฉีดสเปรย์หรือหยอดน้ำมันหล่อลื่นลงไปเยอะแล้ว แต่ก็ยังมีเสียงดังอยู่ ให้ลองยกประตูขึ้นนิดนึงด้วย เพื่อเปิดจุดที่เกิดการเสียดสีของบานพับ

3.      หากลูกบิดฝืดเปิด-ปิดยาก ให้ฉีดสเปรย์หล่อลื่นลงไปในลูกบิดเพื่อช่วยหล่อลื่นกลไกภายใน และให้ฝุ่นที่เกาะอยู่หลุดออก 

 

การแก้ปัญหาประตูไม้แตกร้าว

***ประตูไม้แตกร้าวเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การต่อผสานไม้ไม่ดี  ไม้หดตัว ไม้โดนแดดหรือความร้อนมากเกินไป... ซึ่งแม้จะเป็นจุดแตกร้าวเล็กๆ แต่ก็สามารถเกิดการแตกร้าวต่อเนื่องและเสียหายจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ วิธีการแก้ปัญหามีดังนี้ครับ

1.      ทำความสะอาดผิวของประตูไม้ด้วยน้ำร้อนผสมสบู่ โดยใช้ฟองน้ำเช็ดเพื่อลบรอยคราบไขมันสกปรกออกก่อน หลังจากนั้นล้างออกด้วยน้ำร้อนเพื่อขยายรอยแตกเล็กน้อยเพื่อความสะดวกในการอุดรอยแตก

2.      นำดินสอพองมาผสมกับน้ำ ไม่ต้องข้นหรือใสมากให้พอดี แล้วนำมาโป๊วอุดรอยตรงบริเวณที่มีรอยแตก และทิ้งไว้จนกว่าจะแห้ง  ***กรณีเป็นรอยแตกร้าวขนาดใหญ่ ให้ใช้ขี้เลื่อยไม้อุดในรอยแตกร้าวแล้วใช้กาวร้อนหยอดลงไป เพื่อเชื่อมประสานรอยแตกร้าว

3.      ใช้กระดาษทรายเบอร์ 0 (ชนิดละเอียดที่สุด) ค่อยๆขัดเนื้อดินสอพองส่วนเกินออกไป

4.      ทำความสะอาดผิวไม้ และทิ้งไว้จนแห้งสนิท หลังจากนั้นจึงทาสีรักษาเนื้อไม้

 

 การซ่อมแซมสีประตูไม้

1.      การซ่อมแซมสีประตูไม้ ควรถอดบานประตูออกมาก่อนเพื่อความสะดวกในการทำงาน โดยทำการไขสกรูที่ยึดบานพับกับบานประตูออก และควรมีผู้ช่วยถือบานประตูไว้ด้วย

2.      หากประตูมีรอยแตกร้าว ให้ทำการซ่อมแซมก่อน โดยการอุดรอยแตกร้าวด้วยดินสอพอง หรือ กาวร้อน

3.      หากประตูมีราดำ คราบตะไคร่หรือครากสกปรกอื่นๆ ให้ขัดออกให้หมดก่อน จึงทำการทาสีซ่อมแซม

4.      สำหรับบานประตูไม้จริงที่ต้องการโชว์ลายไม้ ให้ใช้กระดาษทรายขัดตัวเคลือบไม้เดิมออก ถ้าเป็นประตูไม้เนื้ออ่อนควรใช้กระดาษทรายประมาณเบอร์ 2-3 เพราะตัวเคลือบจะไม่ค่อยหนา และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดริ้วรอยที่ผิวไม้ หากใช้เครื่องขัดกระดาษทรายจะทำให้สามารถทุ่นแรงและเวลาได้มากขึ้น

5.      ก่อนที่จะเริ่มทาน้ำยารักษาเนื้อไม้หรือสีทาทับหน้า ควรทำการป้องกันอุปกรณ์ประตูจากสีก่อนด้วยการนำเทปกาวมาติดที่ลูกบิด มือจับ หรือ กลอนเสียก่อน จากนั้นจึงค่อยทาน้ำยารักษาเนื้อไม้ให้ทั่วทุกด้าน จำนวน 2 เที่ยว ทิ้งไว้จนแห้งสนิท ในขั้นตอนนี้ควรทาน้ำยาป้องกันเชื้อราลงไปด้วย

6.      จากนั้นก็ทาทับด้วยสีย้อมไม้ 2 เที่ยว ทิ้งไว้ให้แห้ง ดึงเทปกาวออก แล้วติดตั้งประตูเข้ากับวงกบดังเดิม

การทำความสะอาดประตูไม้

1.      ให้เริ่มจากการปัดฝุ่นทั้ง 2 ด้านของประตูให้สะอาด หลังจากนั้นก็ให้ใช้ผ้าชุบน้ำยาทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ไม้ขัดให้ทั่วประตู ซึ่งน้ำยานี้จะช่วยให้ประตูไม้มีความเงางามเหมือนใหม่ อีกทั้งยังสามารถช่วยป้องกันไม่ให้ประตเกิดเชื้อราได้อีกด้วย

2.      หากเกิดรอยคราบเป็นวงๆที่ประตูไม้ ให้ใช้ผ้าหรือสำลีชุบน้ำมันการบูรถูเบาๆ บริเวณที่เป็นรอย รวมถึงหากเกิดรอยขีดข่วนที่ประตู ให้ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำมันชักเงาถูเบาๆ จนรอยขีดข่วนหายไป

3.      คราบเปื้อนจากสี ถ้าสียังไม่แห้งให้แก้ไขเหมือนรอยขีดข่วน แต่ถ้าแห้งแล้วให้ใช้น้ำมันสนชโลมบริเวณคราบนั้นจนกว่าคราบสีจะอ่อนตัวและหลุดไป จากนั้นใช้น้ำมันชักเงาถูให้สะอาด

                                                       

การทำความสะอาดอุปกรณ์ประตู

               อุปกรณ์ประตู ได้แก่ ลูกบิด บานพับ มือจับ และกลอนประตู

1.      ลูกบิดประตูที่ทำมาจาก Stainless steel (สแตนเลส) อาจเกิดสนิมได้จากเกลือทะเลหรือคลอรีนจากน้ำประปา แม้จะใช้เกรด 316 ก็ตาม รวมไปถึงที่อับอื้นและไม่มีอากาศถ่ายเท ดังนั้นเราควรทำความสะอาดทุกๆ 3-6 เดือน โดยใช้ผ้าหรือฟองน้ำ

2.      ลูกบิดประตูที่ทำมาจาก Zinc Alloy (โลหะผสมสังกะสี) มักจะเกิดจุดดำบนผิววัสดุ หากมีการใช้ภายนอกอาคารที่อยู่ใกล้ทะเล ควรทำความสะอาดทุก 2-3 สัปดาห์ โดยใช้ฟองน้ำหรือผ้าชุบน้ำยาล้างจานเช็ดแล้วล้างออกด้วยน้ำประปา หลังจากนั้นเช็ดด้วยผ้าแห้งให้สะอาด

3.      ลูกบิดประตูที่ทำมาจาก Brass (ทองเหลือง) สารเคลือบผิวทองอาจชำรุดได้จากการสัมผัสกับวัตถุแหลมคม หรือโดยไอระเหยของสารเคมีที่เป็นกรด ดังนั้นเราควรทำความสะอาดทุก 2-3 สัปดาห์ โดยใช้ผ้าแห้งหรือผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ด ถ้ายังมีคราบอยู่ให้ชุบด้วยน้ำยาล้างจากแล้วล้างออกด้วยน้ำประปา แล้วเช็ดให้แห้งด้วยผ้า

 

 

 

 

รงงานผู้ผลิตและจำหน่าย ประตูไม้ ประตูไม้สัก หน้าต่างไม้ หน้าต่างไม้สัก วงกบ วงกบไม้ ประตูหน้าบ้าน ประตูบานคู่ ประตูไม้บานคู่ ประตูคู่หน้าบ้าน ประตูไม้จริง ประตูไม้อบแห้ง ประตูห้องนอน ประตูห้องน้ำ ประตูหน้าบ้าน ประตูบ้าน ประตูห้องรับแขก ประตูห้องครัว ประตูระเบียง และงานฉลุลายทุกชนิดทุกแบบ ไม้สัก ประตูไม้โมเดิร์น ประตูบ้านโมเดิร์น ประตูไม้สักโมเดิร์น ประตูหน้าบ้านโมเดิร์น ประตูบานเดี่ยว ประตูไม้บานเดี่ยว ประตูบ้าน ประตูบ้านไม้ ประตูไม้บ้าน ประตูไม้หน้าบ้าน ประตูไม้สักอบแห้ง ประตูไม้อบแห้ง ประตูไม้เมืองแพร่ ประตูไม้สักแพร่ ประตูไม้สักกระจก ประตูไม้กระจก โรงงานประตูไม้สัก โรงงานทำประตูไม้สัก โรงงานประตูไม้ ประตูไม้สักแพร่ ประตูไม้สักจ.แพร่ ประตูไม้สักเมืองแพร่ ประตูไม้แพร่ ประตูไม้สักแกะสลัก ประตูแกะสลัก ประตูไม้แกะสลักประตูไม้สักแกะสลักหงส์ ประตูแกะสลักหงส์ ประตูไม้แกะสลักหงส์ ประตูไม้สักแกะสลักมังกร ประตูแกะสลักมังกร ประตูไม้แกะสลักมังกร ประตูไม้สักแกะสลักปลา ประตูแกะสลักปลา ประตูไม้แกะสลักปลา ประตูไม้สักแกะสลักลายไทย ประตูแกะสลักลายไทย ประตูไม้แกะสลักลายไทยประตูไม้แกะสลักพญานาค ประตูแกะสลักพญานาค ประตูไม้สักแกะสลักพญานาค หน้าต่างไม้แกะสลัก หน้าต่างไม้สักแกะสลัก หน้าต่างแกะสลัก หน้าต่างวัด หน้าต่างโบสถ์ หน้าต่างวัดแกะสลัก ประตูวัด ประตูแกะสลักเทพพนม ประตูวัดแกะเทพพนม ประตูวัดแกะสลักเทพพนม ประตูโบสถ์ ประตูพระอุโบสถ ประตูพระอุโบสถแกะสลัก ประตูวัดแกะสลัก ประตูแกะสลัก หน้าต่างพระอุโบสถ ประตูวัดแกะสลักลายไทย ประตูวัดลายกนก ประตูวัดลายไทย ประตูวัดลายเทพพนม ประตูวัด ประตูวัดไม้ ประตูวัดไม้สัก ประตูไม้ ประตูสวย ประตูบ้านสวย ประตูไม้สวย ประตูไม้สัก หน้าต่างไม้สัก หน้าต่างไม้ หน้าต่างกระจก ประตูโมเดิร์น ประตูไม้โมเดิร์น ประตูบ้านโมเดิร์น ประตูไม้สักโมเดิร์น หน้าต่างโมเดิร์น หน้าต่างไม้โมเดิร์น หน้าต่างไม้สักโมเดิร์น ประตูไม้อบแห้ง ประตูไม้สักอบแห้ง ประตูอบแห้ง ประตูบ้านสวย ประตูไม้จริง ประตูลูกฟัก ประตูไม้ลูกฟัก ประตูแกะสลัก ประตูไม้สักแกะสลัก ประตูไม้แกะสลัก หน้าต่างแกะสลัก หน้าต่างไม้แกะสลัก หน้าต่างไม้สักแกะสลัก

 

 

Visitors: 336,560