ไม้สักแกะสลัก ...ผลิตจากไม้สักแท้ 100% โดยช่างฝีมือภูมิปัญญาชาวบ้าน

งานศิลปกรรม ที่เกี่ยวกับการแกะสลักไม้ มักรวมเรียกว่า "เครื่องไม้จำหลัก" นับว่าเป็นงานศิลปะไทย ที่อยู่เคียงคู่ชาติไทยมาช้านาน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แต่ไม้เป็นวัตถุที่เสื่อมสลายได้ ดังนั้น เมื่อเวลาผ่านไปหลายร้อยปี ศิลปะที่ทำด้วยไม้ดังกล่าว  ปัจจุบันจึงเหลือเป็นหลักฐานน้อยมาก สำหรับการศึกษาเรียนรู้เรื่องราวในอดีต

ช่างแกะสลัก คือช่างที่มีความรู้ความสามารถในการออกแบบลวดลาย และของมีคมสำหรับการแกะสลักลงบนเนื้อวัสดุต่าง เช่น ไม้ หิน โลหะ เขาสัตว์ และบนวัสดุอ่อน เช่น ผลไม้หรือพืชผัก โดยทำให้เกิดลวดลาย และภาพมีระยะเกิดความสูงต่ำ ภายในภาพสามารถสัมผัสได้ด้วยมือและสายตา ประบวนการที่ช่างต้องใช้เครื่องมือ ทำการขุด ตัด ทอน แล้วแกะเอาเนื้อวัสดุนั้นออก ซึ่งช่างจะต้องใช้ความประณีต ต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อวัสดุ เช่น เนื้อไม้ ช่างจะต้องรู้เทคนิคและวิธีการใช้เครื่องมือเพื่อเวลาแกะสลักจะได้ไม่ปิ่นหรือหักหลุดออกมา ตลอดจนช่างควรจะรู้วิธีการประดิษฐ์เครื่องมือ คือ สิ่วและบำรุงรักษาให้มีความคมอยู่เสมอ

งานแกะสลักไม้สักแท้ คุณค่าภูมิปัญญาชาวบ้าน ศิลปะ และความเป็นสิริมงคล ด้วยเทคนิคการแกะสลักสมัยใหม่ผสมผสานกับการแกะสลักด้วยช่างฝีมือ(hand made) ที่ถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น...เป็นการแกะสลักแบบ 3 มิติ คือ มีความลึก ตื้น และมีฉากหลัง เพื่อให้งานดูเป็นมิติไม่แบนราบ โดยใช้ไม้สักขนาดความหนา 3 นิ้ว เพื่อให้สามารถแกะสลักได้ลึก ***ภาพแกะสลักไม้สักสามารถนำไปประดับบ้านเรือน อาคาร สถานที่ต่างๆ ได้ทั้งแบบแขวนฝาผนัง หรือ ตั้งบนโต๊ะ นอกจากความสวยงามแล้ว ยังช่วยเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับผู้อยู่อาศัยอีกด้วยครับ

  ***ขนาดมาตรฐาน 55x105 ซม. ราคาแผ่นละ 3,900 บ. (พร้อมทำสีสำเร็จ) *ราคายังไม่รวมค่าขนส่งนะครับ

  ***ต้องการภาพแกะสลักขนาดอื่น หรือ ภาพอื่นๆ ก็สามารถทำได้นะครับ ราคาจะขึ้นอยู่กับขนาดและรายละเอียดของภาพที่ต้องการแกะสลักครับ...

            

            

            

             

        

         

           

การแกะสลักไม้  ถือว่าเป็นงานศิลปกรรมที่เก่าแก่ประเภทหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่สมัยมนุษย์ดึกดำบรรพ์ รู้จักใช้เครื่องมือตัดหินขุดเจาะและถากไม้ให้มีรูปทรงตามที่ต้องการ ทั้งในด้านประโยชน์ใช้สอยและความงาม ในยุคเหล็ก คือประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสศักราช เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักการแยกโลหะจากแร่และนำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้นานาชนิด รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลักด้วย งานแกะสลักก็ได้เริ่มต้นและมีการพัฒนาต่อมาจนถึงปัจจุบันและทำกันไปทั่วโลก
***สำหรับการแกะสลักไม้ในประเทศไทยนั้น แต่เดิมส่วนมากจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนาทั้งสิ้นได้แก่งานแกะสลักไม้ประกอบโบสถ์ วิหาร ศาลาวัด หอพระไตรปิฎก ตู้พระไตรปิฎก พระเจดีย์ ฯลฯ ซึ่งมีการสรรค์สร้างอย่างสวยงามและปราณีตบรรจง ปรากฏอยู่ทุกยุคทุกสมัย ในภูมิภาคต่างๆของประเทศไทยมีช่างแกะสลักที่มีฝีมือได้สร้าง สรรค์ผลงานขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ศิลปะไม้แกะสลักของล้านนาเป็นงานศิลปะที่เก่าแก่ มีเอกลักษณ์และมีคุณค่าควรแก่การภาคภูมิใจสำหรับชาวล้านนาเอง ด้วยเหตุที่ในท้องถิ่นมีไม้สักอุดมสมบูรณ์ สามารถนำมาใช้ในการแกะสลักได้สะดวก งานแกะสลักจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมล้านนาที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ ค่านิยม ประเพณี การทำมาหากิน ตลอดจนวิถีชีวิตของชาวล้านนา ที่ผูกพันอยู่กับธรรมชาติ ทุ่งนา ป่าไม้ ซึ่งจะพบเห็น กันได้ทั่วไปในปัจจุบันในสถานที่สำคัญทางศาสนา บ้านเรือนที่อยู่อาศัยหรือเครื่องใช้ สอยในชีวิตประจำวัน

ประเภทของงานแกะสลักไม้
การแกะสลักไม้สามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภท คือ

          1.การแกะสลักรูปลายเส้น เป็นการเซาะร่องตามลวดลายของเส้นให้มีความหนักเบาเท่ากันตลอด ทั้งแผ่น มักใช้ในการแกะแม่พิมพ์ไม้
          2.การแกะสลักรูปนูนต่ำเป็นการแกะสลักภาพให้นูนสูงขึ้นจากแผ่นพื้นของไม้เพียงเล็กน้อยไม่ แบนราบเหมือนภาพลายเส้นใช้แกะสลักลวดลายทั่วไป ส่วนมากเป็นลวดลายประกอบอาคาร สถาปัตยกรรมต่างๆ โบสถ์ วิหาร เครื่องเรือน หรือประกอบรูปแบบลอยตัว
          3. การแกะสลักรูปนูนสูงเป็นการแกะสลักภาพให้นูนสูงขึ้นมาเกือบเต็มตัวมีความละเอียดของรูปมากกว่าแบบนูนต่ำ   ใช้แกะลวดลายประกอบงานทั่วไป เหมือนรูปนูนต่ำ
          4. การแกะสลักรูปลอยตัว เป็นการแกะสลักไม้ที่มองเห็นได้รอบด้าน มักแกะเป็นพระพุทธรูป รูปคน สัตว์ หรือรูปตามคตินิยม ฯลฯ

ขั้นตอนและวิธีการแกะสลักไม้

         1.กำหนดรูปแบบและลวดลายออกแบบหรือกำหนดรูปแบบและลวดลายนับเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญในการออกแบบ  สำหรับงานแกะสลักต้องรู้จักหลักในการออกแบบ และต้องรู้จักลักษณะของไม้ที่จะนำมาใช้แกะสลัก  เช่น ทางไม้หรือเสี้ยนไม้ที่สวนกลับไปกลับมา สิ่งเหล่านี้ช่างแกะสลักจะต้องศึกษาหาความรู้  และแบบงานแกะสลักต้องเป็นแบบที่เท่าจริง
         2.การถ่ายแบบลวดลายลงบนพื้นไม้ นำแบบที่ออกแบบไว้มาผนึกลงบนไม้ หรือนำมาตอกสลักกระดาษแข็งต้นแบบให้โปร่ง เอาลวดลายไว้และนำมาวางทาบบนพื้นหน้าไม้ที่ทาด้วยน้ำกาว หรือน้ำแป้งเปียกไว้แล้วทำการตบด้วยลูกประคบดินสอพองหรือฝุ่นขาวให้ทั่ว แล้วนำกระดาษต้นแบบออก จะปรากฏลวดลายที่พื้นผิวหน้าไม้
         3.การโกลนหุ่นขึ้นรูปคือการตัดทอนเนื้อไม้ด้วยเครื่องมือช่างไม้บ้างเครื่องมือช่างแกะสลักบ้าง  แล้วแกะเนื้อไม้เอาส่วนที่ไม่ต้องการออกให้ไม้นั้นมีลักษณะรูปร่างที่ใกล้ เคียงกับแบบเพื่อให้เกิดรูปทรงตามต้องการ มีความชัดเจนตามลำดับเพื่อจะนำไปแกะสลักลวดลายในขั้นต่อไป
การโกลนภาพ เช่นการแกะภาพลอยตัว เช่น หัวนาคมงกุฎ หรือแกะครุฑและภาพสัตว์ต่าง ๆ ช่างจะต้องโกลนหุ่นให้ใกล้เคียงกับตัวภาพ
         4.การแกะสลักลวดลาย คือการใช้สิ่วที่มีความคม มีขนาดและหน้าของสิ่วต่าง ๆ เช่น สิ่วหน้าตรง หน้าโค้ง และฆ้อนไม้ เป็นเครื่องมือในการแกะสลักเพื่อทำให้เกิดลวดลายซึ่งต้องใช้ฆ้อนไม้ในการตอกและใช้สิ่วทำการขุดการปาด  และการแกะลวดลายทำให้เกิดความงามตามรูปแบบที่ต้องการการขุดพื้นคือการตอกสิ่วเดินเส้นโดยใช้สิ่วที่พอดีกับเส้นรอบนอกของตัวลาย เพื่อเป็นการคัดโคมของลวดลายส่วนใหญ่ทั้งหมดก่อนโดยใช้ฆ้อนตอกเวลาตอกก็ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมสม่ำเสมอ  เพื่อคมสิ่วจะได้จมลึกในระยะที่เท่ากันแล้วจึงทำการใช้สิ่วหน้าตรง ขุดพื้นที่ไม่ใช่ตัวลายออกให้หมดเสียก่อน ขุดชั้นแรกขุดตื้น ๆ ก่อน ถ้าพื้นยังไม่ลึกพอก็ตอกซ้ำอีกแล้วจึงขุดต่อไปเพื่อให้ได้ช่องไฟที่โปร่งถ้า ต้องการนำลวดลายแกะสลักนั้นไปประดับในที่สูงก็ต้องขุดพื้นให้ลึกพอประมาณ เพราะมองไกล ๆ จะได้เห็น การแกะยกขึ้น หลังจากที่ทำการขุดพื้นแล้วก็แกะยกชั้นจัดตัวลายที่ซ้อนชั้นกันเพื่อให้เห็นโคมลายชัดเจน  ซึ่งก้าวก่ายกันในเชิงของการผูกลายเพื่อปรับระดับความสูงต่ำของแต่ละชั้นมี ระยะ 1 – 2 – 3 การแกะแรลาย เริ่มจากการตอกสิ่วเดินเส้นภายในส่วนละเอียดของลวดลายแล้ว ก็จะใช้สิ่วเล็บมือทำการปาดแกะแรลายเก็บแต่งส่วนละเอียด

ข้อสังเกตในการปาดแรตัวลาย
          เวลาปาด หรือแกะแรตัวลาย ช่างจำเป็นต้องดูทางของเนื้อไม้หรือเสี้ยนเมื่อเวลาใช้สิ่วก็ต้องปาดไปตามทางของเนื้อไม้ คือ  ไม่ย้อนเสี้ยนไม้หรือสวนทางเดินของเนื้อไม้ เพราะจะทำให้ไม้นั้นหลุดและบิ่นได้ง่าย
***การปาดแต่งแรลาย คือการตั้งสิ่วเพล่เอียงข้างหนึ่ง ฉากข้างหนึ่ง แล้ว ปาดเนื้อไม้ออกจะเกิดความสูงต่ำไม่เสมอกัน   เพื่อทำให้เกิดแสงเงาในตัวลายและมองเห็นให้ชัดเจนตามรูปแบบที่ต้องการ

การปาดลายสามารถทำได้ 3 วิธี คือ

          - ปาดแบบช้อนลาย
          - ปาดแบบพนมเส้น คือพนมเส้นตรงกลาง
          - ปาดแบบลบหลังลาย (ลบเม็ดแตง)

การแกะสลักไม้ จำเป็นต้องมีวิธีการแปลกออกไปแล้วแต่สภาพ เช่น การแกะบานประตูหน้าต่างอาจใช้ไม้แผ่นเดียวทำได้สำเร็จ แต่การแกะหน้าบัน พระที่นั่งโบสถ์มีขนาดใหญ่ วิธีการแกะจึงต้องเพลาะไม้หลายแผ่นเข้าด้วยกัน แต่อาจจะเรียงต่อกันโดยยึดพอที่จะแกะ  เสร็จแล้วจึงถอดเป็นชิ้นส่วนนำขึ้นไปประกอบทีละแผ่น   หรือลวดลายที่ต้องการแสดงรูปเกือบลอยตัวก็แยกแกะต่างหากตามแบบแล้วนำเดือย สลักติดเข้ากับตัวลายหน้าบันนั้น ๆ ต่อไป

          ในปัจจุบันการแกะสลักก็ยังคงยึดวิธีการแบบโบราณ แต่มีการวิวัฒนาการปรับปรุงเครื่องมือเข้ามาช่วย ก็คือการใช้เครื่องมือขุดพื้น การลอกแบบลงบนไม้ ซึ่งแต่เดิมใช้วิธีการปรุกระดาษแล้วโรยฝุ่น หรือใช้เขียนลงบนไม้ ก็ใช้พิมพ์เขียวแล้วทากาวผนึกลงบนไม้ แต่ละใช้ได้เฉพาะแกะให้รู้รูปร่าง แต่เมื่อโกลนหุ่นแล้วก็ต้องใช้วิธีการเขียนแบบเดิมซึ่งทำกันมาแต่โบราณ

เครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลัก

  -ไม้ ไม้ที่นิยมนำมาใช้ในงานแกะสลัก ได้แก่ ไม้สัก เป็นไม้ที่ไม่แข็งเกินไป มีลายไม้สวยงาม สามารถแกะลายต่างๆได้ง่าย หดตัวน้อย ทนานต่อสภาพดินฟ้าอากาศและปลอดภัยจากปลวก มอดและแมลง ไม้ที่นิยมรองลงมาคือ ไม้โมก ไม้สน ที่สำคัญคือ ไม้ที่นำมาทำการแกะสลักจะ ต้องไม่มีตำหนิ เพราะจะทำให้งานชิ้นนั้นขาดความสวยงาม ค้อนไม้ เป็นค้อนที่มีลักษณะคล้ายตะลุมพุกเล็กๆ ทำจากไม้เนื้อแข็งเช่น ไม้แดง ไม้ชิงชัน
  -ค้อนไม้จะเบา และไม่กินแรงเวลาใช้งานและช่วยรักษาด้ามสิ่วให้ใช้งานได้นานอีกด้วย
  -สิ่วเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการแกะสลักมีหลายชนิดได้แก่ สิ่วขุด สิ่วฉาก สิ่วขมวด สิ่วเล็บมือ สิ่วทำ จากเหล็กกล้าที่แข็งและเหนียว ที่สำคัญคือจะต้องลับให้คมอยู่เสมอ 

 

  - มีด เป็นมีดเล็กๆ ปลายแหลม ใช้แกะลายเล็กๆ หรือแกะร่อง
  - เลื่อย ใช้ในการเลื่อยไม้ส่วนที่ไม่ต้องการออกไป เพื่อขึ้นรูปหรือขึ้นโครงของงาน
  - บุ้งหรือตะไบ ใช้ถูตกแต่งชิ้นงานในขั้นตอนหลังจากแกะสลักแล้ว
  - กระดาษทราย ใช้ขัดตกแต่งชิ้นงานหลังจากแกะสลักแล้ว
  - กบไสไม้ ใช้ไสไม้ให้เรียบก่อนลงมือแกะหรือตกแต่งอื่นๆภายหลัง
  - สว่าน ใช้เจาะรูไม้เพื่อแกะหรือฉลุไม้
  - แท่นยึดหรือปากากาจับไม้ ใช้ยึดจับไม้
  - เครื่องมือประกอบอื่นๆ ได้แก่ ไม้บรรทัด ดินสอ กระดาษลอกลาย กระดาษแข็งทำแบบ
  - วัสดุตกแต่ง ได้แก่ ดินสอพอง แลกเกอร์ แชลแลก น้ำมันลินสีด ทินเนอร์ หรือสีทาไม้

 

          

                                        งานHand made แกะสลักด้วยมือล้วนๆ โดยช่างฝีมือภูมิปัญญาชาวบ้าน

                                                               ภาพแกะสลักฝูงช้าง วิวป่าและสรรพสัตว์ ขนาดใหญ่ 1.50 x 2.00 ม.

 

                                                                                              ภาพแกะสลักช้างแนวศิลป์

 

โรงงานจุมพลลายไท(หจก.ไทยวู้ดแพร่) : ไม้แกะสลัก ไม้สักแกะสลัก แกะสลักไม้ แกะสลักไม้สัก ภาพแกะสลัก ขายภาพแกะสลัก ภาพไม้แกะสลัก ขายไม้แกะสลัก งานไม้แกะสลัก งานแกะสลักไม้ งานแกะสลักไม้สัก การแกะสลัก แกะสลัก  ภาพแกะสลักช้าง ช้างแกะสลัก แกะสลักภาพช้าง แกะสลักช้าง แกะสลักฝูงช้าง ประตูไม้ ประตูไม้สัก ประตูไม้บานเดี่ยว ประตูไม้บานคู่ ประตูคู่หน้าบ้าน ประตูบ้านไม้ ประตูไม้บ้าน ประตูโมเดิร์น ประตูไม้โมเดิร์น ประตูห้อง ประตูห้องน้ำ ขายไม้แกะสลัก ขายภาพแกะสลัก ขายไม้สักแกะสลัก ประตูไม้จ.แพร่ ประตูไม้สักจ.แพร่ ประตูไม้เมืองแพร่ ประตูไม้สักเมืองแพร่ โรงงานผลิตประตูไม้ โรงงานขายประตูไม้ ขายประตูไม้ ขายประตูไม้สัก ไม้สักฉลุลาย ไม้ฉลุลาย ฉลุลายไม้สัก ฉลุลายไม้ งานฉลุลายไม้  ประตูไม้สักอบแห้ง ประตูไม้สักกระจก ประตูไม้กระจก ประตูไม้กระจกนิรภัย ประตูไม้สักกระจกนิรภัย กระจกประตู ลูกกลึงไม้ ลูกกลึงไม้สัก ลูกกรงไม้ ลูกกรงไม้สัก ลูกตั้งไม้ ลูกตั้งลูกนอนไม้ ลูกนอนไม้ ลูกตั้ง ลูกนอน ประตูบานเกล็ด ประตูไม้บานเกล็ด ประตูไม้สักบานเกล็ด ประตูไม้สักอบแห้ง ประตูไม้อบแห้ง ประตูบานเกล็ด ประตูไม้บานเกล็ด ประตูไม้สักบานเกล็ด ประตูไม้สักแพร่ ประตูไม้สักจ.แพร่ ประตูไม้เมืองแพร่ ประตูไม้แกะสลัก ประตูไม้สักแกะสลัก ประตูแกะสลัก ประตูแกะสลักหงส์ ประตูแกะสลักมังกร ประตูแกะสลักปลา ประตูแกะสลักลายไทย ประตูไม้แกะสลักหงส์ ประตูไม้แกะสลักมังกร ประตูไม้แกะสลักปลา ประตูไม้สักแกะสลักหงส์ ประตูไม้สักแกะสลักมังกร ประตูไม้สักแกะสลักปลา ประตูไม้สักแกะสลัก ประตูแกะสลัก ประตูไม้แกะสลักประตูไม้สักแกะสลักหงส์ ประตูแกะสลักหงส์ ประตูไม้แกะสลักหงส์ ประตูไม้สักแกะสลักมังกร ประตูแกะสลักมังกร ประตูไม้แกะสลักมังกร ประตูไม้สักแกะสลักปลา ประตูแกะสลักปลา ประตูไม้แกะสลักปลา ประตูไม้สักแกะสลักลายไทย ประตูแกะสลักลายไทย ประตูไม้แกะสลักลายไทยประตูไม้แกะสลักพญานาค ประตูแกะสลักพญานาค ประตูไม้สักแกะสลักพญานาค หน้าต่างไม้แกะสลัก หน้าต่างไม้สักแกะสลัก หน้าต่างแกะสลัก หน้าต่างวัด หน้าต่างโบสถ์ หน้าต่างวัดแกะสลัก ประตูวัด ประตูแกะสลักเทพพนม ประตูวัดแกะเทพพนม ประตูวัดแกะสลักเทพพนม ประตูโบสถ์ ประตูพระอุโบสถ ประตูพระอุโบสถแกะสลัก ประตูวัดแกะสลัก ประตูแกะสลัก หน้าต่างพระอุโบสถ ประตูวัดแกะสลักลายไทย ประตูวัดลายกนก ประตูวัดลายไทย ประตูวัดลายเทพพนม ประตูวัด ประตูวัดไม้ ประตูวัดไม้สัก ประตูไม้สวย ประตูไม้สักสวยๆ ประตูลายนกยูง ประตูไม้ลายนกยูง ประตูไม้สักลายนกยูง ประตูไม้ลายมังกร ประตูลายมังกร ประตูไม้สักลายมังกร ประตูลายหงส์ ประตูไม้ลายหงส์ ประตูไม้สักลายหงส์ ประตูลายปลา ประตูไม้ลายปลา ประตูไม้ลายปลาคาร์ฟ ประตูลายปลาคาร์ฟ ประตูไม้สวย ประตูไม้จริง ประตูไม้คุณภาพ ประตูไม้สักแห้ง ประตูไม้เก่า ประตูไม้เรือนเก่า ประตูไม้สักเกรดเอ ประตูสวย ประตูบ้านสวย

 

Visitors: 336,958