ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับไม้สัก...โดย Thai-wood.com (หจก.ไทยวู้ดแพร่) โรงงานผู้ผลิตโดยตรงไม่ผ่านคนกลาง ผลิตและจำหน่าย ประตูไม้สัก หน้าต่างไม้สัก วงกบไม้สัก ฉลุลายไม้สัก ทุกชนิดทุกแบบ

ไม้สักที่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ในจ.แพร่ แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่...

1.ไม้สักเรือนเก่า...เป็นไม้สักที่คุณภาพดีที่สุด ไม่หดตัว ลายไม้สวย มีแกนไม้เยอะ สีน้ำตาลเข้ม เป็นไม้จากบ้านเรือนหรือสิ่งก่อสร้างอื่นที่ปลูกสร้างไว้เป็นเวลานานแล้ว โดยนำไม้จากส่วนประกอบต่างๆของบ้านหรือสิ่งก่อสร้างดังกล่าว มาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ใหม่ครับ เช่น ตู้ เตียง ประตู หน้าต่าง ฯลฯ

2.ไม้สักออป.  "ออป." ย่อมาจาก "องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้" ชาวบ้านที่จ.แพร่ เรียกว่า "ไม้ ออป." หรือ "ไม้ อป." เป็นไม้สักที่มีคุณภาพรองจากไม้เรือนเก่า...มีความแกร่งของเนื้อไม้ค่อนข้างมาก เนื่องจากปลูกในสภาพพื้นที่ที่เป็นภูเขา อัตราการหดตัวมีน้อยกว่าไม้สัก นส. อายุไม้สักออป.ที่ตัดมาใช้งาน ประมาณ 25 ปี ขึ้นไป และหากอายุไม้มากกว่า 40 ขึ้นไป จะเรียกว่า "ไม้ซุง" เนื่องจากจะมีขนาดลำต้นใหญ่

3.ไม้สัก นส.  "นส." ย่อมาจาก "หนังสือแสดงสิทธิทำกิน" หรือ นส.3 นั่นเองชาวบ้านที่จ.แพร่ จะเรียกว่า "ไม้นส." เป็นไม้สักที่มีคุณภาพต่ำที่สุด ปลูกในป่า/สวน/พื้นที่ราบทั่วไป เป็นไม้ที่มีความแกร่งของเนื้อไม้น้อย อัตราการหดตัวมีมากกว่าไม้สักออป. อายุไม้สักนส.ที่ตัดมาใช้งานไม่แน่นอน แล้วแต่อายุการตัดไม้ของเจ้าของสวน ซึ่งส่วนใหญ่จะตัดขายเมื่อไม้มีอายุ 10 ปีขึ้นไป

***ซึ่งทั้งไม้ออป.และไม้นส. จะต้องนำมาปรับปรุงคุณภาพก่อนการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ได้แก่ การอบ การพึ่งแดด การแช่น้ำ การย่าง เป็นต้น เพื่อป้องกันการหดตัวและการบิดงอของไม้ บางคนก็จัดประเภทไม้เป็นเกรดต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าเลือกครับ  เช่น A+, A , B , B+ , C  ซึ่งการจัดเกรดไม้ส่่วนใหญ่จะใช้อายุของไม้เพื่อจัดแบ่งเกรด รองลงไปเป็นการใช้ลายเนื้อไม้และตำหนิของไม้เพื่อจัดแบ่งเกรด โดยการจัดเกรดไม้ของแต่ละโรงงานแต่ละร้าน จะไม่เหมือนกันนะครับ แต่สิ่งสำคัญอยู่ที่การปรับปรุงคุณภาพไม้มากกว่าครับ เพราะหากไม่มีการปรับปรุงคุณภาพไม้หรือทำให้ไม้แห้งก่อนนำมาประกอบเป็นเฟอร์นิเจอร์ ถึงจะจัดเป็นเกรด A ก็จะมีปัญหาไม้แตก หด  บิดงอ หรือการโก่ง ตามมาทีหลังได้ครับ

ไม้สักมีกี่ชนิด???

ไม้สัก มี 5 ชนิด มีชื่อทางพฤกษศาสตร์เดียวกันว่า Tectona grandis Linn. f. แต่เรียกชื่อแตกต่างกันไปตามประเภทของเนื้อไม้  ***ศ.ดร.สะอาด บุญเกิด นักวิชากรด้านวนศาสตร์ได้เขียนบอกเล่าจากประสบการณ์ว่า ไม้สักทองจะเกิดขึ้นอยู่กับแหล่งพื้นที่ปลูก สถานที่ ดินฟ้าอากาศ และสายพันธุ์เป็นสำคัญ สำหรับการแบ่งประเภทของเนื้อไม้สัก โดยทั่วไปจะพิจารณาจากลักษณะของสีผิว การตกแต่ง ความแข็ง และความเหนียว เข้ามาประกอบ พวกลักลอบตัดโค่นไม้ มักจะเชี่ยวชาญในการแยกลักษณะของไม้สักเป็นพิเศษ โดยสังเกตจากต้น เรือนยอด สุขภาพของต้น และการแตกของเปลือก

1.สักทอง เนื้อไม้จะมีสีเหลืองทอง ส่วนใหญ่พบในป่าโปร่งชื้้น ดินค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ การแตกของเปลือกเช่นเดียวกับสักหยวก อยู่ในที่ที่แห้งชื้น เรือนยอดสมบูรณ์ ใบมีขนาดกลาง เนื้อไม้จะเป็นเส้นตรง ผ่าง่าย มีความแข็งแรกกว่าสักหยวก สีเข้ม เป็นสีน้ำตาลเหลือง หรือที่เรียกกันว่าสีทอง ในบรรดาไม้สักทั้ง 5 ชนิด ไม้สักทองได้รับฉายาว่าเป็น "ราชินีแห่งไม้" หรือ "Queen of Timbers" เป็นไม้ที่มีคุณภาพดีที่สุดของโลกที่ธรรมชาติมอบให้แก่คนไทยและประเทศไทย

2.สักหยวก เนื้อไม้จะมีสีขาว พบในป่าโปร่งชื้้น และริมห้วย ต้นตรง เปลือกแตกเป็นร่องตื้นแต่ยากตรง เรือนยอดสมบูรณ์ ใบมีขนาดกลาง เนื้อไม้หรือแก่น ถากหรือฟันได้ง่าย ไม้สักหยวก และไม้สักทองจะอยุ่ในทำเลที่คล้ายกัน และมีลักษณะภายนอกคล้ายกัน แต่ก็สามารถสังเกตได้อีกเล็กน้อยก็คือ ร่องของเปลีอกไม้สักหยวกจะกว้างกว่าไม้สักทอง แต่แตกเป็นร่องตรงเหมือน ๆ กัน

3.สักไข เนื้อไม้จะมีสีอ่อนและลักษณะเป็นมัน พบในป่าโปร่งแล้งเป็นส่วนมาก เจริญเติบโตช้า ร่องของเปลือกลึกและตัวเปลือกเป็นสันกว้างระหว่างร่อง ลำต้นตรงเปลา แต่มีลักษณะแกร็น ๆ พุ่มของเรือนยอดบอบบาง แต่ก็มีใบเต็ม จะทราบได้ว่าเป้นสักไขก็ต่อเมื่อถึงมือช่างไม้ เพราะเนื้อไม้จะมีไขปน ยากแก่การขัด และทาแล็กเกอร์ สีของไม้สักไขจะมีสีน้ำตาลเข้มปนเหลือง

4.สักหิน พบในป่าโปร่งแล้งในระดับสูง การแตกของเปลือกเป็นร่องลึกและเรือนยอดดูไม่ค่อยแข็งแรง ใบเล็กกว่าปกติ จพทราบได้แน่นอนเมื่อมีการโค่นล้ม หรือตบแต่งโดยพวกโค่นล้มเลื่อย และช่างไม้ เพราะเนื้อไม้จะแข็งกว่าไม้สักทั่วไปและเปราะ สีของเนื้อไม้จะมีสีน้ำตาลเข้ม

5.สักขี้ควาย เนื้อไม้จะออกสีคล้ำ ไม้สักพวกนี้จะเกิดอยู่ในที่ค่อนข้างแล้งในป่าผสมผลัดใบต่าง ๆ และมักจะพบอยู่ในบริเวณรอยต่อ (Transition zone) ของป่าโปร่งผลัดใบต่าง ๆ และป่าแพะลักษณะของเรือนยอดมักจะไม่สมบูรณ์ ลำต้นจะตายบ้าง กิ่งหรือเรือนยอดแห้งตายไปบ้างกิ่งสองกิ่งลักษณะของเปลือกแตกเป็นร่องไม่สม่ำเสมอ ขาดเป็นตอน ๆ และมีร่องลึก ลักษณะไม่สมบูรณ์ จะทราบแน่ว่าเป็นสักขี้ควายก็ต่อเมื่อโค่นลงมาเลื่อยดู ก็จะเห็นได้ชัดว่า เนื้อไม้จะมีสีเขียวปนน้ำตาลแก่ หรือ น้ำตาลอ่อน  Cr. www.swsawmill.com

ถิ่นกำเนิดของไม้สัก

            ไม้สัก มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า Teak และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Tectona grandis อยู่ในวงค์ Verbenaceae มีถิ่นกำเนิดอยู่ในตอนใต้ของประเทศอินเดีย พม่า ไทย อินโดนีเซีย และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก
            ไม้สัก เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ และบางส่วนของภาคกลางและตะวันตก คือ ในท้องที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ สำพูน เชียงราย สำปาง แพร่ น่าน ตาก กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ และพิจิตรและมีบ้างเล็กน้อยในจังหวัด นครสวรรค์ อุทัยธานี และกาญจนบุรี 
            ไม้สัก ชอบขึ้นตามพื้นที่ที่เป็นภูเขา แต่ในพื้นที่ราบที่น้ำไม่ขังไม้สักก็ขึ้นได้ดีเช่นเดียวกัน ในพื้นที่ที่เป็นดินปนทรายแต่น้ำไม่ขัง ไม้สักมักขึ้นเป็นหมู่ไม้สักล้วน ๆ และมีไม้ขนาดใหญ่ ไม้สักชอบพื้นที่ที่มีชั้นดินลึก การระบายน้ำดี ไม่ชอบดินแข็งและน้ำท่วมขัง
            ไม้สัก ขึ้นได้ดีในดินที่เกิดจากหินหลายชนิด แต่ความเจริญงอกงามของไม้สักขึ้นอยู่กับความลึก การระบายน้ำ ความชื้น และความอุดมสมบูรณ์ ของดินนั้น ๆ โดยเฉพาะในดินที่เกิดจากหินปูนซึ่งแตกแยกผุผังจนกลายเป็นดินร่วนที่ลึก ไม้สักชอบมากและเจริญเติบโตดีมาก ไม้สักชอบดินที่มีความเป็นกลางและด่างเล็กน้อย ค่า pH ระหว่าง 6.5-7.5 ปริมาณน้ำฝน ระหว่าง 1,200-2,000มม. ต่อปี ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางไม่เกิน 700 เมตร และมีฤดูแล้งแยกจากฤดูฝนชัดเจนจะทำให้ไม้สักมีลวดลายสวยงาม

ลักษณะของต้นสัก

            ไม้สัก เป็นต้นไม้ผลัดใบ ขนาดใหญ่มีลำต้นเปลา มักมีพูพอน ตอนโคนต้นเรือนยอดกลม สูงเกินกว่า 20 เมตร
            เปลือก หนา 0.30-1.70 ซม. สีเทา หรือสีน้ำตาลอ่อนแกมเทา แตกเป็นร่องตื้น ๆ ไปตามทางยาวและหลุดออกเป็นแผ่นบาง ๆ เล็ก ๆ
            ใบ ใหญ่ ความกว้าง 25-30 ซม. ความยาว 30-40 ซม. รูปใบรีมน หรือรูปไข่กลับ แตกจากกิ่งเป็นคู่ ๆ ท้องใบสากหลังใบสีเขียว แกมเทา เป็นขน
            ดอก เล็กสีขาวนวล ออกเป็นช่อใหญ่ ๆ ตามปลายกิ่งเริ่มออกดอกเดือน มิถุนายน เป็นต้น 
            ผล ค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 ซม. ผลหนึ่ง ๆ มีเมล็ดใน 1-4 เมล็ด เปลือกแข็งมีขนสั้น ๆ นุ่ม ๆสีน้ำตาล หุ้มอยู่ ผลแก่ในราวเดือน พฤศจิกายน-มกราคม
            ลักษณะเนื้อไม้ สีเหลืองทอง ถึงสีน้ำตาลแก่ มีลายเป็นเส้นสีน้ำตาลแก่แทรก เสี้ยนตรง เนื้อหยาบ แข็งปานกลาง เลื่อยใสกบ ตบแต่งง่าย
คุณสมบัติบางประการ

            ไม้สัก ปลวกและมอดไม่ทำอันตราย เพราะในเนื้อไม้สักมีสารเคมีพิเศษอยู่ชนิดหนึ่ง ชื่อ O-cresyl methyl ether สารเคมีชนิดนี้ค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ของกรมป่าไม้ มีคุณสมบัติ เมื่อทาหรืออาบไม้แล้วไม้จะมีความคงทนต่อ ปลวก แมลง เห็ดราได้อย่างดียิ่ง นอกจากนี้ในไม้สักทอง ยังพบว่ามีทองคำปนอยู่ 0.5 ppm. (ไม้สักทอง 26 ต้น มีทองคำหนัก 1 บาท) 
            ไม้สัก เป็นไม้เนื้อแข็งตามมาตรฐานของกรมป่าไม้ จากการทดลองตามหลักวิชาการไม้สักมีความแข็งแรงสูงกว่า 1,000 กก./ตร.ซม. และมีความทนทานตามธรรมชาติ จากการทดลองนำส่วนที่เป็นแก่นของไม้สักไปทดลองปักดิน ปรากฏว่า มีความทนทานตามธรรมชาติเกินกว่า 10 ปี (ระหว่าง 11-18 ปี)

 

ประตูไม้สัก...กับความนิยมตลอดกาล...

ต้องยอมรับได้เลยว่า ไม้สักนั้น เรานิยมนำมาผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์  โดยเฉพาะนิยมนำมาทำเป็นประตู เพราะด้วยรูปลักษณ์ที่สวยงาม ทั้งยังคงทนใช้ได้ยาวนาน ซึ่งด้วยความสวยงามของไม้ และความคงทนนั้น ทำให้การใช้ประตูไม้สัก นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งตัวประตูเองก็มีหลากหลายแบบ หรือหลากหลายเกรดให้เลือกใช้ เราจึงควรทำความรู้จักประตูไม้สักเสียก่อน เพื่อสามารถเลือกนำมาใช้ให้ได้คุณภาพ  โดยไม้สักแบ่งออกเป็นหลายเกรด ขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโตของไม้สัก ความชื้นในเนื้อไม้ ความทนทาน และที่มาของไม้สัก เป็นต้น ซึ่งนั่นทำให้ราคาของประตูไม้สักมีความแตกต่างกันทั้งที่เป็นไม้ชนิดเดียวกัน

ความแข็งแรงของประตูจากไม้

ประตูจากไม้มีด้วยกันหลายประเภท แตกต่างกันตามชนิด ลวดลาย วิธีการทำ และขนาดของไม้ที่นำมาใช้ เช่น ประตูไม้เต็งจะให้ลวดลาย สี และอารมณ์อีกแบบหนึ่ง  ขณะที่จากไม้ยางพาราทำให้เกิดความรู้สึกอีกแบบหนึ่ง แต่ถ้าพูดกันถึงประโยชน์ใช้สอยแล้วประตูจากไม้สัก มีความโดดเด่น เนื่องจากเป็นไม้จริงชนิดเดียวที่ไม่ค่อยเปลี่ยนสภาพตามภูมิอากาศและไม่ผุง่าย เพราะถ้าเป็นไม้ชนิดอื่น เมื่อโดนน้ำมากเข้า หรือมีความชื้นมาก ก็อาจเกิดการโก่งตัว หรือที่เรียกว่า "บวม" หรือไม่ก็เกิดปรากฎการณ์ประเภทที่เรียกว่า "หด" ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการเปิดปิดซึ่งพบมากช่วงหน้าฝนและหน้าหนาว หลายคนเลยเลี่ยงไปใช้ประตูพลาสติกแทน แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ไม่สวยงามและชำรุดเสียหายง่าย คงไม่มีใครอยากจะได้วัสดุพลาสติกเป็นแน่แท้โดยเฉพาะประตูที่หน้าบ้าน โดยส่วนใหญ่มักใช้ติดตั้งที่ห้องน้ำ ฉะนั้นความคงตัวไม่ยืดหดง่ายของไม้สัก จึงเป็นข้อดีซึ่งเด่นกว่าไม้จริงอื่นๆ ***หากเป็นบานภายนอกที่เป็นไปได้ว่าจะโดนแดดหรือฝน ก็ควรจะทาเคลือบโพลียูรีเทน หรือสีทาไม้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะในการป้องกัน เพื่อความสวยงามและคงทนเนื่องจากราคาค่างวดของมันนั้นไม่ใช่น้อย***หากเป็นบานภายในไม่ต้องใส่ใจเยอะมากขนาดนั้นก็ได้ครับ

วิธีการเลือกประตูไม้สัก

ในเบื้องต้นเลือกได้ด้วยตนเอง สามารถดูที่สีของเนื้อไม้สัก  เพราะถ้าเป็นประตูไม้สักทองจะมีลวดลายของเนื้อไม้สวยงาม และมีสีน้ำตาลอมเหลืองทอง  บอกได้เลยว่าทั่วไปแล้วการเลือกประตูไม้สักดูง่ายๆ จากพื้นผิวที่สวยเนียนเรียบ รูปแบบของไม้เป็นเนื้อเดียวกัน ไร้รอยต่อ  โดยพื้นผิวที่ดีนั้นได้จากการเก็บรักษาไม้  แต่ประตูไม้สักมีอยู่หลายเกรดหลายราคา ขึ้นอยู่กับงบประมาณในการซื้อของผู้ซื้อ ทั้งยังต้องคำนึงถึงขนาดบานประตู รวมวงกบ ระยะการเปิดประตูที่จะไม่ชนกับผนัง สภาพบานประตูที่ซื้อควรเปิด-ปิดได้เต็มที่ หรือไม่ก็ใช้แบบบานเลื่อนก็ได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบ และการใช้งานของตัวบ้าน  แต่ถึงอย่างไรควรปรึกษากับช่าง หรือทางร้านเพื่อความแน่ใจ  เพราะบางประตูเหมาะสำหรับใช้งานภายใน หรือภายนอก ซึ่งแตกต่างกันรวมถึงราคาที่ต้องคำนึงว่าอยากได้ไม้เกรดดีประมาณไหน

                 

แหล่งเลือกประตูไม้สัก

          โดยประตูไม้สักนี้ส่วนใหญ่จะมีมากในพื้นที่ต่างจังหวัด พร้อมกับช่างชำนาญการที่มีความรู้โดยหากพูดถึงในกรุงเทพฯ  สามารถพบได้ที่ย่านบางโพ หรือที่รู้กันในชื่อถนนสายไม้ (ประชานฤมิตร) ซึ่งมีร้านให้เลือกสรรกันทุกแบบ ทุกราคา ทุกคุณภาพ แต่จะเป็นการที่เราต้องเดินเลือกเอง เพราะมีอยู่หลายสิบร้าน ซึ่งแต่ละร้านคุณภาพไม้ก็แตกต่างกันหลายเกรด   แต่หากดูง่ายๆว่า เป็นของแท้ ของจริงนั้น หมายถึง ไม้ที่เนื้อสวยเป็นมาตรฐาน   ดูได้จากลายไม้ไม่มีรอยต่อ มีลวดลายละเอียด และควรจะมีการอบไล่ความชื้นมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อป้องกันการโก่งหรือหดตัวของไม้สักนั้น  เพราะฉะนั้นการเลือกไม้สัก หรือตัวประตูไม้สักเอง ควรใช้เวลาในการพิจารณาจากหลายๆ ร้าน  ทั้งร้านเล็กและร้านใหญ่  อย่าเพิ่งรีบด่วนตัดสินใจนะครับ...

           

             การประเมินอายุไม้สักจากเส้นรอบวง

ท่อนที่

อายุ (ปี)

ความโตของเส้นรอบวง (ซ.ม.)

ความโตเฉลี่ย/ปี (ซ.ม.)

1

5

39

7.80

2

10

63

6.30

3

15

74

4.93

4

20

86

4.30

5

25

92

3.68

6

63(ไม้สักป่าธรรมชาติ)

90

1.43

 

                 ที่มา : วัดจากตัวอย่างไม้สักทองของสวนป่าแม่เมาะ จ.ลำปาง ( อ.อ.ป.)

           

คุณสมบัติของไม้...

        โดยที่ไม้เกิดจากต้นไม้หลายชนิด คุณสมบัติในด้านต่างๆ ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ จึงมีความแตกต่างกัน ไม่แต่ละชนิดย่อมเหมาะสมกับงานแต่ละอย่างมากน้อยไม่เหมือนกัน ในงานก่อสร้างเรามักคำนึงถึงความแข็งแรง และความทนทานในประดิษฐกรรม เครื่องเรือน หรือส่วนประกอบเครื่องจักรกล ซึ่งต้องการความสวยงาม และแนบเนียนในการเข้าไม้ เราอาจคำนึงถึงลวดลายในไม้ การหดหรือการพองตัว ความยากง่ายในการไสกบตกแต่ง ตลอดจนการลงน้ำมัน ในการทำลังใส่ของเราอาจคำนึงถึงความหนักเบาและความยากง่ายในการตอกตะปู ในการทำเยื่อกระดาษเราสนใจถึงปริมาณส่วนประกอบทางเคมีของไม้ และลักษณะเส้นใย ร่วมทั้งความยากง่ายในการฟอกสี

ความชื้น หมายถึง...

         ความชื้น หมายถึง น้ำที่มีอยู่ในไม้ มีความสัมพันธ์ต่อคุณสมบัติของไม้ในด้านต่างๆ อย่างสำคัญยิ่ง ปริมาณความชื้นไม้นิยมแสดงเป็นค่าส่วนร้อยของน้ำหนักเนื้อไม้แท้ๆ ซึ่งความชื้นในไม้หาได้จากสูตร

         %ความชื้นไม้ = (ก-ล)x100/ล    *โดย ก หมายถึง น้ำหนักก่อนอบ  ล หมายถึง น้ำหนักหลังอบ

         เช่น ไม้ชิ้นหนึ่ง ชั่งน้ำหนกขณะที่มีความชื้นอยู่ได้ 112 กรัม หลังจากนำเข้าเตาอบจนกระทั่งน้ำระเหยไปหมด ชั่งอีกครั้งหนึ่งได้น้ำหนักเหลือ 100 กรัม เมื่อคำนวณแล้วได้ความชื้นของไม้ = (112-100) x 100/100 = 12% น้ำหนัก 12 กรัมที่หายไป คือ น้ำหนักน้ำ คิดเป็นส่วนร้อยของน้ำหนักไม้ได้ร้อยละ 12

         ตามปกติ ไม้จะมีความชื้นอยู่ในตัวเสมอไม่มากก็น้อย ในขณะที่ถูกตัดโค่นลงใหม่ๆ ความชื้นอาจมีแตกต่างกันระหว่างร้อยละ 60-300 หรือสูงต่ำกว่านั้น และมีบรรจุอยู่ทั้งในช่องเซลล์ และผนังเซลล์ เมื่อปล่อยไว้ในอากาศหลังจากตัดทอนหรือแปรรูปเป็นแผ่นแล้ว ไม้จะค่อยๆแห้งลงเอง โดยที่น้ำในช่องเซลล์จะแห้งไปก่อนจนถึงระดับหนึ่งซึ่งความชื้นในผนังเซลล์ยังมีอยู่เต็ม แต่ความชื้นในช่องเซลล์หมดไป เราเรียกความชื้นระดับนี้ว่า "จุดหมาด" ความชื้นที่จุดหมาดของไม้ชนิดต่างๆ มีค่าไล่เลี่ยกันระหว่างร้อยละ 25-30  ไม้ที่มีความชื้นสูงกว่าจุดหมาดเรียกว่า "สด" ไม้ที่หมาดแล้วนี้จะต้องเสียความชื้นต่อไป จนกระทั่งได้ส่วนสัมพันธ์กับความชื้นในอากาศโดยรอบ ไม้ที่แห้งจนได้ส่วนสัมพันธ์กับความชื้นในอากาศแล้วนี้ เรียกว่า "แห้ง" หรือ แห้งในอากาศ สำหรับประเทศไทยปริมาณความชื้นไม้แห้งจะมีค่าเปลี่ยนแปรอยู่ระหว่างร้อยละ 10-16 หรืออาจสูงต่ำกว่าได้นี้บ้าง ตามความเปลี่ยนแปรความชื้นในอากาศของฤดูกาลต่างๆ เป็นที่สังเกตว่า การที่จะไม่ให้มีความชื้นเหลืออยู่เลยตามธรรมชาตินั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เว้นแต่จะทำการอบด้วยเตาอบ มีอุณหภูมิสูงกว่า 100 องศาเซลเซียสเท่านั้น สภาพที่ไม้มีความชื้นเป็นศูนย์เช่นนี้ เรียกว่า "อบแห้ง" 

               

น้ำหนัก...
     เป็นคุณสมบัติที่รู้จักกันแพร่หลาย และทดสอบหาค่าได้ง่ายกว่าคุณสมบัติอย่างอื่น การกล่าวถึงน้ำหนักของสาร โดยทั่วๆ ไป เราใช้วิธีเทียบเป็นทศนิยมของน้ำหนักน้ำที่มีปริมาตรเท่ากัน ซึ่งเรียกกันว่า ความถ่วงจำเพาะ (ถพ.) เนื้อไม้แท้ๆ จะมีค่าความถ่วงจำเพาะโดยเฉลี่ยประมาณ ๑.๕๔ หรือหนักกว่าน้ำประมาณหนึ่งเท่าครึ่ง การที่ไม้ลอยน้ำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้แห้ง เพราะว่าเนื้อไม้มีช่องว่างอยู่ทั่วๆ ไป ในประเทศไทยมีไม้หลายพันชนิด และมีค่าความถ่วงจำเพาะแตกต่างกันระหว่าง ๐.๓ - ๑.๓ เป็นส่วนใหญ่ ไม้ที่เบาที่สุด ได้แก่ ไม้เทียะ ถพ. ๐.๑๒ ซึ่งมีทางภาคใต้ ที่หนักที่สุด ได้แก่ ไม้มะเกลือ ถพ. ๑.๓๕ มีอยู่ทั่วๆ ไป  ไม้จะหนัก หรือเบาเพียงไร ขึ้นอยู่กับความหนาบางของผนังเซลล์ค้ำจุนเป็นสำคัญ ไม้มีผนังเซลล์ค้ำจุนหนาก็จะหนัก ถ้าบางก็จะเบา ความชื้นในไม้มีบทบาทเกี่ยวกับน้ำหนักอยู่มาก กล่าวคือ ถ้ามีความชื้นสูงก็มีน้ำหนักมาก ถ้ามีความชื้นน้อยก็มีน้ำหนักเบา ลงตามส่วน ในสมัยที่การคมนาคมทางบกไม่สะดวก การทำไม้สักต้องใช้วิธี "กาน" หรือตัดกระพี้ โดยรอบโคนต้นให้ขาดถึงแก่น ทำให้ไม้ตาย ปล่อยไว้ให้แห้งประมาณ ๒ ปีเสียก่อน จึงทำการตัดโค่น การทำเช่นนี้ ทำให้ไม้ลอยน้ำได้โดยไม่จำเป็นต้องมีทุ่นช่วย และทุ่นค่าใช้จ่ายได้มาก

                                            

การหดและการพองตัว...

     เกิดขึ้นเมื่อไม้เสียความชื้น หรือได้รับความชื้นเพิ่มตามลำดับ ในระดับที่มีความชื้นต่ำกว่า จุดหมาด ไม้ที่ไสกบตกแต่งประกอบเข้าชิดสนิทกัน ดูงามดีในขณะที่ไม้ยังสด ภายหลังเมื่อไม้แห้งลงจะเกิดร่อง หรือความหละหลวมที่รอยต่อนั้นๆ เนื่องมาจากการหดตัวของไม้ โดยนัยกลับกัน หากนำไม้แห้งอัดชิด แล้วปล่อยให้ถูกน้ำหรือความชื้นสูง ส่วนประกอบนั้นอาจ ดันกันจนโก่งงอขึ้นมาได้ เพื่อกันการเสียหายอันเกิดจากการหดการพองตัวนี้ จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องเลือกใช้ไม้ที่มีความชื้นให้เหมาะสมถูกต้องกับกาลเทศะ ขนาดของการหดและพองตัว เราเรียกกันเป็นส่วนร้อยของขนาดหรือปริมาตรเดิม เช่น ไม้สดมี ขนาดวัดได้ ๑๐๐ มิลลิเมตร แห้งแล้ววัดได้ ๙๖ มิลลิเมตร หายไป ๔ มิลลิเมตร ดังนี้เรียกว่า ไม้นั้นหดตัวตั้งแต่ อยู่ในสภาพสดถึงแห้งร้อยละ ๔ ไม้โดยทั่วๆ ไป หดตัวมากที่สุดตามแนวสัมผัส ซึ่งจะมีค่าประมาณ ๑.๕ - ๒ เท่าของการหดตัวตามแนวรัศมี และหดตัว น้อยมากตามแนวยาวของลำต้น ตัวอย่างการหดตัว ตั้งแต่อยู่ในสภาพสดถึงอบแห้งของไม้ไทยบางชนิด ได้นำมาเปรียบเทียบให้ดูดังต่อไปนี้

ชนิดไม้

การหดตัว (%)
           รัศมี          สัมผัส        ตามยาว
  สัก
  หำโจร
  มะมื่น
  สนเขา
  สมพง

๒.๗
๖.๑
๖.๓
๔.๔
๔.๐

๕.๒
๑๒.๘
๙.๐
๖.๓
๗.๓

๐.๐๐
๐.๔๑
๐.๐๓
๐.๓๔
๐.๑๓

     การที่ไม้หดตัวตามทิศทางต่างๆ ไม่เท่ากันนี้ ทำให้ไม้แปรรูปที่ได้จากส่วนต่างๆ ของต้นไม้เมื่อยังสด มีรูปเปลี่ยนแปลงไปได้เมื่อไม้แห้งลง ไม้ที่ด้านกว้างสองด้านขนานกับรัศมี จะหดตัวมากทางความหนา ที่ด้านกว้างสองด้านขนานกับแนวสัมผัส จะหดตัวมากทางความกว้าง ที่มีด้านก้ำกึ่งอยู่ระหว่าง ๒ พวกแรก มุมที่เคยได้ฉากจะกลับเย้ไป สำหรับไม้ท่อนกลม หรือไม้แปรรูปที่มีไส้หรือใจติดอยู่ตรงกลาง มักจะมีรอยแตกอ้าตามผิวรอยหนึ่ง หรือหลายๆ รอยเสมอ สำหรับตามแนวยาวของไม้ อาจจะเกิดการโก่ง โค้ง และบิด...ไม้ที่ใช้งานตากแดดตากฝนอยู่เป็นประจำ เช่น พื้นชาน ก็มีเหตุที่ทำให้ไม้หดตัวไม่เท่ากัน เกิดจากความแตกต่างของปริมาณความชื้น ที่ผิวของไม้กับไม้ ส่วนที่อยู่ลึกๆ ลงไป ในที่สุดก็ทำให้เกิดรอยปริ รอยร้าว หรือรอยแตกปรากฏอยู่ทั่วไป

                 

ความแข็งแรง...
     หมายถึง ความสามารถของไม้ที่จะรับน้ำหนัก หรือแรงภายนอก เช่น แรงน้ำ แรงลม น้ำหนักของสิ่งของ หรือแรงที่มนุษย์ทำขึ้น เพื่อใช้ในงานทดสอบโดยเฉพาะ เป็นคุณสมบัติสำคัญที่จะต้องพิจารณาเมื่อนำไม้มาใช้ก่อสร้างบ้านเรือน หรืองานอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน แรงที่เข้ามากระทำต่อไม้ที่ใช้ในการก่อสร้างนั้น แยกได้เป็น ๓ ประเภท คือ
แรงดึง ซึ่งมีผลทำให้ไม้แยกออกจากกัน เช่น ตัวไม้ที่ใช้ตียึดโยงต่างๆ
แรงบีบ มีผลให้ไม้บีบตัวเข้าหากัน เช่น ไม้ที่ใช้เป็นสาตอม่อ หรือไม้ค้ำยัน
แรงเชือด ทำให้ไม้ส่วนหนึ่งไถลเลื่อนเคลื่อนคลาดออกไปจากส่วนข้างเคียง
บางกรณี เช่น ไม้ที่ใช้งานในลักษณะคาน ตง ได้รับแรงทั้ง ๓ ประเภท เข้ากระทำพร้อมๆ กัน กล่าวคือ รับแรงบีบทางด้านบน หรือด้านโค้งเข้า แรงดึงทางด้านล่าง หรือด้านโค้งออก และแรงเชือดตามแนวยาวของคาน
     ความจริงยังมีคุณสมบัติที่เกี่ยวเนื่องกับความแข็ง แรงอยู่อีก ๓ อย่าง คือ ความยากง่ายในการทำให้ไม้ เสียรูป เรียกว่า ความดื้อ หรือความยืดหยุ่น ความยาก ง่ายในการทำให้ไม้แตกหักออกจากกัน เรียกว่า ความ เหนียว หรือความเปราะ และความสามารถต้านทานต่อ ความขีดข่วนเจาะไช เรียกว่า ความแข็ง คุณสมบัติทั้งสี่นี้ รวมเรียกว่า กลสมบัติของไม้
    ในการทดลองหาค่าทางกลสมบัติของไม้ตามวิธี มาตรฐานสากล มีการทดลองในการดัด (รับแรงอย่าง คานโดยเพิ่มน้ำหนักหรือแรงทีละน้อยๆ) การเดาะ (รับแรงอย่างคานแต่เป็นแรงที่มีความเร็วต้นหรือแรง กระแทก) การบีบขนานเสี้ยนและตั้งฉากเสี้ยน การ เชือดตามแนวเสี้ยน การดึงตั้งฉาก เสี้ยนและความแข็ง ทั้งนี้โดยทำการทดลองที่ ๒ ระดับความชื้น คือ เมื่อสด มีความชื้นเกินร้อยละ ๓๐ และแห้งมีความชื้นร้อยละ ๑๒ โดยทั่วๆ ไป ค่าแรงดัดมีความสำคัญมากที่สุด ไม้แห้งจะมีค่าสูงกว่าไม้สดประมาณ ๑.๔ - ๑.๕ เท่า
     ค่ากลสมบัติที่ได้จากการทดลอง ใช้เป็นเกณฑ์ ในการเปรียบเทียบคุณสมบัติไม้ ทำให้เราสามารถเลือกใช้ไม้ได้ตามความเหมาะสม วิศวกรได้อาศัยใช้ในการคำนวณ กำหนดขนาดตัวไม้ที่ใช้เป็นส่วนต่างๆ ของ อาคาร

                  

 

                                                      

ความทนทาน...หมายถึง ความสามารถในการต่อต้าน หรือต้านทานต่อตัวการทำลายไม้ต่างๆ ที่สำคัญ คือ รา ซึ่งเป็นพืชชั้นต่ำ ทำให้ไม้ผุ หรือเสียสี มอดและปลวก เป็นแมลง ซึ่งอาศัยกินสารในไม้ หรือเนื้อไม้เป็นอาหาร 

     สำหรับไม้ที่ใช้ในน้ำ ถ้าเป็นน้ำจืด จะมีตัวอ่อน ของแมลงพวกชีปะขาว หรือที่เรียกว่า เพรียงน้ำจืด เข้าทำอันตรายเพื่อใช้เป็นที่หลบภัย ในน้ำกร่อยหรือน้ำ เค็ม จะมีเพรียง พวกหอยสองฝา และสัตว์พวกกุ้งปูบาง ชนิดเข้าทำลาย เพื่อใช้เป็นที่หลบภัยอยู่อาศัย และกินเป็นอาหาร สาเหตุที่ทำให้ไม้มีความทนทานแตกต่างกันนั้นวิเคราะห์กันว่า เนื่องมาจากเหตุ ๒ ประการ คือความแน่น และสารแทรกในเนื้อไม้ ไม้ที่มีความแน่นสูง หรือมีช่องรูอุดตัน ยอมให้น้ำ และอากาศถ่ายเทได้ยาก จะมีความทนทานสูงกว่าไม้ที่เบา หรือที่ โครงสร้างโปร่ง แต่ที่สำคัญที่สุด คือ ชนิด และปริมาณสารแทรกที่มีในเนื้อไม้ เห็นได้ชัดจากสารแทรกที่มีในส่วนกระพี้ และแก่นไม้ดังกล่าวมาแล้วแต่ต้น  วิธีทดลองหาความทนทานของไม้ตามธรรมชาติ ที่ถือเป็นสากลในปัจจุบันคือ ใช้ไม้ขนาดกว้าง หนา ๕ เซนติเมตร ยาว ๕๐ เซนติเมตร ปักไว้ในดินกลางแจ้ง แล้วคอยตรวจตราทุกๆ ระยะ ๖ เดือน บันทึกความ เสียหายที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ จนไม้เสียหายสิ้นเชิง จึงจะถือว่าเสร็จสิ้นการทดลองไม้ที่ไม่ทนทาน เช่น ปออีเก้ง ปักอยู่ไม่ถึง ๖ เดือนก็ผุ หรือปลวก มอด ทำลายหมด ไม้ยางทนทานได้ ๓-๔ ปี ไม้ตะเคียนทอง ทนทานได้ถึง ๗ ปี ไม้เต็ง รัง สัก ทนทานเกิน ๑๐ ปีขึ้นไป

     เกี่ยวกับความทนทานของไม้นี้ เขาแบ่งสภาพ แวดล้อมของสถานที่ซึ่งนำไปใช้ไว้เป็น ๖ สภาพ คือ
ในร่ม หมายถึง เป็นที่พ้นจากแดดฝน ไม่มีโอกาสถูกน้ำ ซ้ำซากได้ กลางแจ้ง ถูกแดดถูกฝนได้ตามกาลเวลา แต่จะไม่เปียกชื้นอยู่นาน
ที่แฉะชื้น คือ ที่ใช้ติดดินหรือ ที่เปียกชุ่มอยู่เสมอเป็นเวลานานๆ ในน้ำจืดและน้ำเค็ม เข่น เสาเขื่อน สะพาน หรือเรือ และใช้ใต้ดิน เช่น เสาเข็ม
ไม้ที่ใช้ในร่ม จัดว่าอยู่ในที่ปลอดภัยที่สุด กล่าวคือ ไม่มีโอกาสผุหรือขึ้นรา ถ้าเป็นแก่นก็มักปลอดจากมอด หากไม่มีมาตรการป้องกันปลวกที่ดี ก็อาจได้รับอันตรายจากปลวกได้
ไม้ที่ใช้กลางแจ้ง และที่แฉะชื้น มีความล่อแหลมต่ออันตรายจากรา มอด และ ปลวกน้อยมากตามลำดับ
ไม้ที่จมอยู่ใต้น้ำ ปลอดภัยจากรา มอด และปลวก แต่ยังมีเพรียงทำลายได้อยู่
ไม้ที่อยู่ใต้ดิน ในระดับลึกกว่าดินผิวพ้นระดับที่มีซาก พืช หรืออยู่ใต้ระดับน้ำในดิน จะปลอดภัยจากตัวการทำอันตรายทั้งปวง

                                                                                                 *ที่มา : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

 

การจัดแบ่งประเภทไม้...

เพื่อให้ตรงกับความเข้าใจพื้นฐานและการนำการใช้งานจริง จึงได้มีการแบ่งไม้ออกเป็น3ประเภท โดยถือเอาค่าความแข็งแรงในการดัดของไม้แห้ง และความทนทานตามธรรมชาติของไม้ชนิดนั้นๆ เป็นเกณฑ์ได้แก่

- ไม้เนื้ออ่อน มีความแข็งแรงต่ำกว่า 600 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร เป็นไม้ที่มีวงปีกว้างมากเนื่องจากเป็นไม้โดเร็ว ลำต้นใหญ่ เนื้อค่อนข้างเหนียว ใช้งานง่าย เนื้อไม้มีสีจางหรือค่อนข้างซีด เนื่องจากเนื้อไม้ค่อนข้างอ่อนจึงไม่นิยมนำมาใช้ทำประตูเพราะจะเกิดการบิด งอ ได้ง่าย เช่นไม้ยาง ไม้ฉำฉา ซึ่งมักใช้กับงานตกแต่งมากกว่า แต่ปัจจุบันได้มีการนำเข้าไม้เนื้ออ่อนจากต่างประเทศโดยใช้ทำเป็นประตูและเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เนื่องจากไม้เนื้ออ่อนที่เติบโตในประเทศเขตหนาวนั้นจะมีการเจริญเติบโตช้า เนื้อไม้จึงแน่นและแข็งแรงพอที่จะใช้งานได้ ไม้ที่นำเข้าจากต่างประเทศและนิยมใช้ทำเป็นประตูได้แก่ ไม้สน ไม้จำปา 

- ไม้เนื้อแข็ง มีความแข็งแรง 600 ถึง 1000 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร เป็นไม้ที่มีมีการเจริญเติบโตช้ากว่าไม้เนื้ออ่อนจึงทำให้มีวงปีมากกว่า คือต้องมีอายุหลายสิบปีจึงจะนำมาใช้งานได้ ลักษณะทั่วไปของไม้จะมีเนื้อมัน ลายละเอียด เนื้อแน่น สีเข้ม (แดงถึงดำ) มีน้ำหนักมาก แข็งแรงทนทาน ไม้ที่นิยมนำมาทำประตูคือ ไม้สัก ไม้ตะแบก ไม้ประดู่

- ไม้เนื้อแกร่ง มีความแข็งแรงสูงกว่า 1000 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร เป็นไม้ที่มีการเจริญเติบโตช้ามาก จึงทำให้วงประจำปีถี่กว่าและมีลายไม้ละเอียดสวยงามมากกว่าไม้สองชนิดแรก และควรมีอายุประมาณ 60-70 ปีขึ้นไปจึงสามารถนำมาใช้งานได้ เนื้อไม้มีสีเข้มอมแดง น้ำหนักไม่มากแต่แข็งกว่าไม้เนื้อแข็ง ไม้ที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มักใช้ในการก่อสร้างหรือเป็นโครงสร้าง เช่น คาน ตง เสา ส่วนใหญ่แล้วไม่ค่อยนิยมใช้ไม้เนื้อแข็งมาทำประตูเนื่องจากมีความแข็งทำให้ตัดไส ได้ยาก และมีน้ำหนักมาก แต่ก็มีผู้ผลิตบางรายที่จำหน่ายประตูไม้ชนิดนี้โดยมักใช้ในกรณีที่เป็นบานใหญ่พิเศษเพราะจะบิด งอได้ยาก  หรือใช้ภายนอกจึงต้องการไม้ที่มีความทนทานสูงเป็นพิเศษ โดยไม้เนื้อแข็งที่มักใช้ทำประตูได้แก่ ไม้แดง ไม้ตะเคียน ไม้มะค่า ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้พยูง

 Application: ประเภทของบานประตูไม้ สำหรับการนำไปใช้งาน...

ประตูไม้จริง สามารถใช้เป็นประตูภายนอกได้เนื่องจากสามารถโดนน้ำ โดนแดดได้บ้าง แต่ไม่ควรใช้ในส่วนที่มีความชื้นตลอดเวลา เช่น ห้องน้ำ เพราะจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาได้ ที่สำคัญควรเลือกเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับประตูไม้ที่มีการอบหรืออาบน้ำยากำจัดปลวกมาก่อน ทั้งบานประตูและวงกบไม้ ซึ่งโดยส่วนมาจะเกิดปัญหาปลวกกัดกินบริเวณวงกบนี่แหละครับ

สาเหตุที่ไม้พองหรือหดตัว...

โดยปกติแล้วไม้จะมีการปรับความชื้นในตัวให้สมดุลกับสภาพความชื้นในบรรยากาศ ปริมาณความชื้นที่วัดได้นี้เรียกว่า ความชื้นสมดุล (Equilibrium Moisture Content – EMC) เพราะฉะนั้นก่อนนำไม้มาใช้งานจึงต้องมีการปรับความชื้นสมดุลของไม้เพื่อป้องกันไม่ให้มีการพองหรือหดตัว ค่าความชื้นสมดุลของประเทศไทยอยู่ที่ + 10- 15 % หากความชื้นของไม้มากกว่าความชื้นในบรรยากาศ ไม้จะคายความชื้นในเนื้อไม้ออกมาและส่งผลให้ไม้หดตัว ในทางกลับกัน หากไม้มีความชื้นน้อยกว่าความชื้นในบรยากาศ ไม้จะทำการดูดความชื้นโดยรอบเข้าไปในเนื้อไม้ ส่งผลให้ไม้เกิดอาการบวม ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยๆ ในช่วงหน้าฝน 

Size: ขนาด

ขนาดมาตรฐานของบานประตูไม้ ที่นิยมนำมาใช้งาน

1.70 x 200 cm., 70 x 180 cm. (สำหรับใช้เป็นบานประตูห้องน้ำ หรือ ห้องซักล้าง)

2.80 x 200 cm., 90 x 200 cm. (สำหรับใช้เป็นบานประตูห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องครัว และห้องทั่วไป)

3.90 x 200 cm., 100 x 200 cm. (สำหรับใช้เป็นประตูบานเดี่ยวหน้าบ้าน หรือ บานทั่วไป)

ประตูไม้สัก (Teak Wood Door​)

     ประตูไม้สักเป็น เป็นประตูไม้ที่มีความนิยมใช้เป็นประตูบ้านอันดับต้นๆ เนื่องจากความเชื่อของคนไทยนั้นเชื่อว่า ไม้สักเป็นไม้ที่มีความเป็นสิริมงคล คนไทยในสมัยก่อนนั้นนิยมใช้ไม้สักมาสร้างเป็นบ้านทั้งหลัง ใช้ทำเป็นประตู-หน้าต่าง ทั้งยังใช้ทำเฟอร์นิเจอร์อีกด้วย คุรสมบัติของไม้สักนั้นเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการทำเป็นประตูมากที่สุด เนื่องจากไม้มีความคงทนแข็งแรงพอสมควรเนื่องจากมีความชื้นในเนื้อไม้ค่อนข้างน้อยทำให้มีการ บิด โก่ง งอ ไม่มาก ในขณะเดียวกันก็มีความอ่อนเพียงพอที่จะแกะสลัก ตัด ไส บาก ได้ง่าย ที่สำคัญคือเมื่อไม้สักมีอายุมากขึ้นจะผลิตน้ำมันธรรมชาติซึ่งมีกลิ่นเฉพาะตัวที่ปลวกไม่ชอบ ทำให้หมดปัญหาเรื่องปลวกและแมลงต่างๆไม้สักนั้นยังแบ่งได้อีกหลายประเภท เช่น สักขี้ควาย สักหิน สักไข สักหยวก และสักทองซึ่งเป็นสักที่นิยมนำมาใช้ในงานสถาปัตยกรรมมากที่สุด

     ไม้สักทองเป็นไม้ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันแพร่หลายทั่วโลก อันเนื่องมาจากเนี้อไม้มีคุณภาพสูง เป็นไม้ที่มีสีสันและลวดลายธรรมชาติที่งดงาม ไม้สักชนิดหนึ่งสี่ของเนี้อไม้จะเป็นสีน้ำตาลเหลืองทอง และมีลวดลายสีดำ เนื้อไม้ของไม้สักค่อนข้างที่จะละเอียด เนื้อไม้มีเสี้ยนตรง น้ำหนักเบา ทำให้ง่ายต่อการเลื่อย ไส และตบแต่ง แต่ก็มีความแข็งแรงพอสมควร ในบรรดาไม้สักทั้ง 5 ชนิด ไม้สักทองได้รับฉายาว่าเป็น "ราชินีแห่งไม้" หรือ "Queen of Timbers" เป็นไม้ที่มีคุณภาพดีที่สุดของโลกที่ธรรมชาติมอบให้แก่คนไทยและประเทศไทย

ข้อดีของประตูไม้สัก

1.ประตูไม้สักมีลวดลายที่สวยงาม

2.ไม้สักมีผิวสัมผัสที่ละเอียดสวยงาม

3.ประตูไม้สักมีความแข็งแรงทนทานกว่าไม้ชนิดอื่น ในขณะเดียวกันเนื้อไม้ก็ยังมีความนิ่มสามารถแปรรูปได้ง่าย

4.ประตูไม้สักไม่มีปัญหาเรื่องปลวก เพราะไม้สักที่มีอายุมากจะผลิตน้ำมันชนิดหนึ่งออกมา ซึ่งปลวกจะไม่กินเนื้อไม้

5.ประตูไม้สัก ยิ่งเก่ายิ่งมีคุณค่าเพิ่มมากขึ้น

ข้อเสียของประตูไม้สัก

1.พื้นผิวไม้สักจะเป็นรอยขีดข่วนได้ง่าย

2.ไม้สักจะบิดตัว และงอตัวเล็กน้อยตามสภาพอากาศ โดยเฉพาะอากาศที่ร้อนแห้งมากๆ

3.ช่างฝีมือที่มีความชำนาญในงานไม้ โดยเฉพาะงานไม้สักในปัจจุบันนั้นหายาก ถ้าหากได้ช่างไม่ดีอาจจะเสียค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเท่าตัว

 

                       

 

                                                                                                                                                  *** ที่มา : web.ku.ac.th

 

 

โรงงานผู้ผลิตและจำหน่าย : ประตูไม้สัก ประตูไม้ บานประตูไม้ ประตูไม้บ้าน ประตูบ้านไม้ ประตูหน้าบ้าน ขายประตูไม้ ประตูคู่หน้าบ้าน ประตูบานคู่ ประตูบานเดี่ยว ประตูไม้จริง ประตูห้อง ประตูห้องนอน ประตูห้องน้ำ ประตูไม้โมเดิร์น ประตูโมเดิร์น ประตูไม้สักแท้ ประตูไม้อบแห้ง ประตูอบแห้ง หน้าต่างไม้สัก หน้าต่างไม้ ขายหน้าต่างไม้ หน้าต่างบ้าน หน้าต่างไม้บ้าน หน้าต่างโมเดิร์น วงกบไม้ วงกบไม้สัก วงกบไม้จริง วงกบบ้าน วงกบประตู วงกบหน้าต่าง วงกบไม้ประตู วงกบไม้หน้าต่าง ประตูไม้เมืองแพร่ ชายประตูไม้สัก ขายประตูบ้าน โรงงานผลิตประตูไม้  โรงงานขายประตูไม้ ประตูบานคู่หน้าบ้าน ประตูไม้บานคู่หน้าบ้าน ประตูไม้สักจ.แพร่ ประตูไม้สักเมืองแพร่ ประตูบานเฟี้ยม บานเฟี้ยม บานเฟี้ยมไม้ บานไม้เฟี้ยม ประตูเฟี้ยม ประตูไม้สักอบแห้ง ประตูไม้สักแห้ง ประตูไม้สักกระจก ประตูบานเกล็ด ประตูไม้บานเกล็ด ประตูไม้สักบานเกล็ด หน้าต่างบานเกล็ด หน้าต่างไม้บานเกล็ด หน้าต่างไม้สักบานเกล็ด บานเกล็ด ประตูไม้แพร่ ประตูไม้สักแพร่ ประตูไม้สักจ.แพร่ บานซิงค์ ตู้ลอย ตู้ลิ้นชัก ตู้ไม้ บานซิงค์ไม้ บานเตาแก๊ส ตู้ลอยไม้สัก ประตูไม้สักแกะสลัก ประตูแกะสลัก ประตูไม้แกะสลักประตูไม้สักแกะสลักหงส์ ประตูแกะสลักหงส์ ประตูไม้แกะสลักหงส์ ประตูไม้สักแกะสลักมังกร ประตูแกะสลักมังกร ประตูไม้แกะสลักมังกร ประตูไม้สักแกะสลักปลา ประตูแกะสลักปลา ประตูไม้แกะสลักปลา ประตูไม้สักแกะสลักลายไทย ประตูแกะสลักลายไทย ประตูไม้แกะสลักลายไทย ประตูไม้แกะสลักลายไทยประตูไม้แกะสลักพญานาค ประตูแกะสลักพญานาค ประตูไม้สักแกะสลักพญานาค หน้าต่างไม้แกะสลัก หน้าต่างไม้สักแกะสลัก หน้าต่างแกะสลัก หน้าต่างวัด หน้าต่างโบสถ์ หน้าต่างวัดแกะสลัก ประตูวัด ประตูแกะสลักเทพพนม ประตูวัดแกะเทพพนม ประตูวัดแกะสลักเทพพนม ประตูโบสถ์ ประตูพระอุโบสถ ประตูพระอุโบสถแกะสลัก ประตูวัดแกะสลัก ประตูแกะสลัก หน้าต่างพระอุโบสถ ประตูวัดแกะสลักลายไทย ประตูวัดลายกนก ประตูวัดลายไทย ประตูวัดลายเทพพนม ประตูวัด ประตูวัดไม้ ประตูวัดไม้สัก ประตูไม้สวย ประตูบ้านสวย ประตูโมเดิร์น ประตูไม้โมเดิร์น ประตูไม้สักโมเดิร์น ประตูบ้านโมเดิร์น หน้าต่างโมเดิร์น หน้าต่างไม้โมเดิร์น

 

 

Visitors: 336,588